กฎหมายผังเมืองกับ พื้นที่สร้างโรงงาน คนทำโรงงานควรรู้!!

กฎหมายผังเมืองกับ พื้นที่สร้างโรงงาน คนทำโรงงานควรรู้!!

การจะสร้างโรงงานสักแห่งไม่ใช่ว่าจะสร้างตรงไหนก็ได้ แต่การสร้างโรงงานจะต้องคำนึงว่าพื้นที่ ที่เราจะใช้ก่อสร้างอยู่ในพื้นที่ที่สามารถสร้างได้ตาม “กฎหมายผังเมือง” หรือไม่ ซึ่งกฎหมายนี้จะทำหน้าที่ในการควบคุมการใช้ประโยชน์ของที่ดิน ทั้งด้านทรัพย์สิน คมนาคม สาธารณูปโภค สภาพแวดล้อมต่างๆ โดยเราจะใช้กฎหมายผังเมืองนี้ในการดูว่า พื้นที่สร้างโรงงาน ของเราเหมาะสมหรือไม่ที่จะดำเนินการก่อสร้าง วันนี้ทาง V.K.B จะมาอธิบายเรื่องกฎหมายผังเมือง และ ข้อควรรู้ต่างๆ ใครที่คิดจะสร้างโรงงานไม่ควรพลาดบทความนี้เลย!!!

กฎหมายผังเมือง คืออะไร ?

กฎหมายผังเมือง

กฎหมายผังเมืองเป็นกฎหมายที่ใช้เพื่อกำหนดพื้นที่ใช้สอย ในการดูแลพื้นที่ให้เป็นไปตามระเบียบผังเมืองที่ดี และ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาบนพื้นที่ใช้สอยนั้นๆ โดยกฎหมายจะใช้เพื่อกำหนดจุดว่าบริเวณนั้นสามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง ใช้สำหรับอะไร พร้อมข้อจำกัดต่างๆ ของพื้นที่ แม้ว่าพื้นที่จะเป็นพื้นที่ใกล้กันแต่ก็อาจจะมีข้อกำจัดที่ต่างกันออกไปได้ โดยผังเมืองต่างๆ ก็จะถูกแบ่งออกไปตามประเภท รหัสตัวอักษร และ สีของพื้นที่นั้นๆ ซึ่งสิ่งเหล่าเป็นหนึ่งในสิ่งที่เราจะใช้ในการพิจารณาว่าพื้นที่ก่อสร้างโรงงานของเราทำอะไรได้บ้าง!!!

ความสำคัญของกฎหมายผังเมืองต่อการก่อสร้างโรงงาน

การที่เราจะต้องยึดผังเมือง ในการนำมาประกอบการตัดสินใจสำหรับการก่อสร้างโรงงาน นั่นก็เพราะว่าผังเมืองสามารถบอกความเป็นอยู่ของบริเวณนั้นๆ ได้ ว่าสภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร การยึดกฎหมายผังเมืองจะทำให้เราเห็นแนวทางการก่อสร้างมากยิ่งขึ้น ว่าบริเวณนั้นมีอะไรแล้วบ้าง แล้วเราควรจะเพิ่มเติมในส่วนไหนให้เป็นไปตามระเบียบที่ควรจะเป็น เช่น เราต้องการพื้นที่สร้างโรงงานก็ต้องดูว่ามีแหล่งชุมชนใกล้โรงงานของเรากี่แห่ง ระยะห่างจากโรงงานถึงชุมชนเหมาะสมหรือไม่ พื้นที่โรงงานของเราอำนวยต่อการก่อสร้างหรือเปล่า เป็นต้น นอกจากนั้นก็ยังทำให้สามารถบริหารจัดการทรัพยากรในพื้นที่ได้ดีมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถใช้ในการประเมินราคาจากที่ดินนั้นๆ ได้อีกด้วย

ต้องการ พื้นที่สร้างโรงงาน ต้องรู้จักสีของพื้นที่ตามผังเมือง

อย่างที่เราได้บอกไปว่าพื้นที่ต่างๆ จะถูกแบ่งออกตามประเภทที่หลากหลาย หนึ่งในนั้นก็คือ สีของพื้นที่ สามารถใช้บอกอะไรได้ว่าที่ดินบริเวณนั้นเป็นอย่างไร สร้างอะไรได้ โดยโซนต่างๆ จะถูกจำแนกเป็นสีย่อยๆ ไล่โทนกัน โดยแต่ละสีก็จะมีความหมายที่แตกต่างกัน

สีของเขตพื้นที่สำหรับอยู่อาศัย

พื้นที่สร้างโรงงาน เขตพื้นที่อยู่อาศัย

สำหรับพื้นที่ ที่ใช้ในการอยู่อาศัย จะถูกแบ่งออกเป็น 3  สี ดังต่อไปนี้ นั่นก็คือ เขตสีเหลือง สีส้ม และ สีน้ำตาล สำหรับเขตที่อยู่อาศัย สีจะใช้ในการบอกจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ว่าบริเวณนั้นว่ามีปริมาณการอยู่อาศัยเป็นอย่างไร โดยสียิ่งเข้มแสดงว่ามีคนอยู่จำนวนเยอะ

  • เขตพื้นที่สีเหลือง – ใช้บอกว่าบริเวณที่ดินมีจำนวนประชากรที่อยู่อาศัยต่ำ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ดินในแถบชานเมือง สามารถสร้างพวกบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ และ อาคารขนาดเล็กจนถึงกลางได้ รวมทั้งระบบขนส่งมวลชนต่างๆ (รหัสที่ดินในเขตนี้ คือ ย.1 – 4)
  • เขตพื้นที่สีส้ม – ใช้บอกว่าบริเวณที่ดินมีจำนวนประชากรที่อยู่อาศัยปานกลาง เป็นพื้นที่ที่สามารถสร้างที่อยู่อาศัยได้หลายรูปแบบ ส่วนใหญ่จะเน้นสร้างอาคารชุด ซึ่งเป็นอาคารที่แบ่งออกเป็นส่วนๆ ตามกรรมสิทธิ์การถือครองที่ดินอย่างคอนโด ห้องแถว (รหัสที่ดินในเขตนี้ คือ ย.5 – 7)
  • เขตพื้นที่สีน้ำตาล – ใช้บอกว่าบริเวณที่ดินมีจำนวนประชากรที่อยู่อาศัยมาก ซึ่งเป็นสีที่เข้มที่สุดสำหรับเขตพื้นที่ ที่อยู่อาศัย สามารถสร้างที่อยู่อาศัยได้ทุกรูปแบบ มูลค่าที่ดินสีนี้จะค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่เขตเมือง ใกล้ใจกลางเมือง (รหัสที่ดินในเขตนี้ คือ ย.8 – 10)

สีของพื้นที่สำหรับเชิงพาณิชย์

สีของพื้นที่สำหรับเชิงพาณิชย์

สีของที่ดินรูปแบบนี้จะใช้ในการบอกว่าเขตพื้นที่นั้น เป็นเขตสำหรับพาณิชยกรรม เป็นศูนย์กลางธุรกิจต่างๆ โดยจะใช้ “สีแดง” ในการบอก ที่ดินสีนี้จะค่อนข้างมีข้อกำจัดมากกว่าสีอื่นๆ โดยจะใช้พื้นที่บริเวณนี้ในการกระจายกิจกรรมทางการค้า การบริการต่างๆ ที่ช่วยในการอำนวยความสะดวกต่อการใช้ชีวิตของประชากรในพื้นที่ นอกจากนั้นแล้วก็ยังรวมไปถึงใช้เป็นพื้นที่ในการนันทนาการ ท่องเที่ยว โดยระบบคมนาคมในเขตนี้จะค่อนข้างเข้าถึงได้ง่ายมาก เช่น ห้างสรรพสินค้า ศูนย์ท่องเที่ยว เป็นต้น (รหัสที่ดินในเขตนี้ คือ พ.1 – 5)

สีของพื้นที่สำหรับอุตสาหกรรม

พื้นที่สร้างโรงงาน เขตพื้นที่อุตสาหกรรม

สำหรับพื้นที่อุตสาหกรรมจะใช้โซน “สีม่วง” ในการแบ่งประเภทที่ดิน โดยส่วนใหญ่พื้นที่จะเป็นเชิงนิคมอุตสาหกรรมในการผลิต และ ส่งออกต่างๆ รวมทั้งพวกคลังสินค้า โกดังเก็บของต่างๆ และ ยังสามารถสร้างที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว หอพัก คอนโดขนาดเล็กได้ ซึ่งเขตพื้นที่อุตสาหกรรมจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ

  • เขตพื้นที่สีม่วงอ.1 – เป็นเขตพื้นที่ที่ใช้ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมต่างๆ สำหรับอุตสาหกรรม ซึ่งจะผลิตมลพิษออกมาน้อย
  • เขตพื้นที่สีม่วงอ.2 – เป็นเขตที่จะเน้นอุตสาหกรรม โดยจะต้องจัดสร้างพื้นที่ก่อสร้างตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ โดยจะใช้ประโยชน์จากที่ดินในการประกอบกิจการอื่นๆ ได้ไม่เกิน 10% ตามข้อกำจัดที่กำหนดไว้
  • เขตพื้นที่สีเม็ดมะปราง – จะเป็นเขตที่ใช้สำหรับสร้างคลังสินค้าต่างๆ รวมถึง ที่อยู่อาศัยขนาดเล็ก โดยเขตพื้นที่นี้จะไม่มีการผลิตเกิดขึ้น โดยจะใช้ประโยชน์จากที่ดินในการประกอบกิจการอื่นๆ ได้ไม่เกิน 10% ตามข้อกำจัดที่กำหนดไว้ (อ.3)

สีของพื้นที่สำหรับเกษตรกรรม

สีของพื้นที่สำหรับเกษตรกรรม

สำหรับพื้นที่เกษตรกรรม จะใช้สีในการบอกประเภทเป็น สีขาว และ สีเขียว ในการแยกประเภทที่ดินเกษตรกรรม และ พื้นที่อนุรักษ์ชนบท

  • เขตพื้นที่สีขาว และ มีกรอบกับเส้นทแยงมุมสีเขียว – ใช้สำหรับบอกว่าพื้นที่บริเวณนั้นเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และ พื้นที่ในเชิงอนุรักษ์ โดยจะมีข้อกำจัดในเรื่องของการระบายน้ำ การเพาะพันธ์ุสัตว์เลี้ยง (รหัสที่ดินในเขตนี้ คือ ก.1 – 3)
  • เขตพื้นที่สีเขียว – เป็นที่ดินที่ใช้สำหรับเกษตรกรรม และ ชนบท โดยจะเน้นไปที่การเกษตรเป็นหลัก (รหัสที่ดินในเขตนี้ คือ ก.4 – 5)

สีของพื้นที่สำหรับอนุรักษ์ และ หน่วยงานภาครัฐ

สีของพื้นที่สำหรับอนุรักษ์ และ หน่วยงานภาครัฐ

พื้นที่ในเขตนี้จะใช้ “สีน้ำตาลอ่อน” ในการแยกเขตพื้นที่ โดยที่ดินในส่วนนี้จะใช้ในเชิงอนุรักษ์ และ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม พวกสถาปัตย์ท้องถิ่น การท่องเที่ยวต่างๆ (โดยในเขตนี้จะใช้รหัสที่ดินคือ ศ.1 – 2) ส่วนเขตสำหรับหน่วยงานภาครัฐจะใช้สี “สีน้ำเงิน” ในการแบ่งแยก โดยจะใช้พื้นที่สำหรับอำนวยความสะดวกในเรื่องของสาธารณูปโภคที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน วัด และ สถานที่ราชการส่วนใหญ่ นอกจากนั้นก็ยังมีพื้นที่บางส่วนที่รัฐไม่ได้นำมาใช้งาน ก็จะนำมาให้ทางเอกชนเช่าสำหรับดำเนินกิจกรรมต่างๆ (จะใช้รหัส ส.)

จะรู้ได้อย่างไรว่าพื้นที่ตรงนั้นสร้างโรงงานได้หรือไม่ ?

พื้นที่สร้างโรงงาน

  1. ให้เราตรวจสอบดูว่าที่ดินของเราอยู่ในจังหวัดไหน เขตไหน อำเภออะไร และ มีเลขที่ดินอะไร (เลขโฉนด)
  2. หากรู้แล้วให้เข้าไปตรวจดูว่าที่ดินของเราอยู่ในเขตสีอะไร โดยเข้าไปที่เว็บไซต์สำหรับดูแผนที่อย่าง map.longdo โดยเลือกให้เป็นแผนผังประเทศไทย จากนั้นทำการใส่ตำแหน่งของที่ดินเราไปก็จะทำให้รู้ว่าที่ดินของเราอยู่ในโซนพื้นที่สีอะไร มีตัวอักษรอะไร
  3. จากนั้นเราจะทำการนำตัวอักษร และ สี ไปเทียบกับตารางเขตผังเมืองว่ามีข้อกำหนดในการก่อสร้าง การใช้สอยที่ดินอย่างไรบ้าง เช่น สามารถก่อสร้างได้ไม่เกินกี่ตารางเมตร สร้างอะไรได้บ้าง ในกรณีที่ทำการก่อสร้างโรงงาน ก็ควรจะเป็นพื้นที่ที่อยู่ในโซนสีม่วง หรือ สีเม็ดมะม่วงสำหรับการก่อสร้างคลังสินค้า

ดังนั้นเพื่อที่จะสามารถก่อสร้างโรงงานให้เป็นไปตามกฎหมายผังเมือง ก่อนการก่อสร้างควรจะทำการตรวจสอบพื้นที่ให้ดีเสียก่อนว่ามีข้อกำจัดอะไรหรือไม่ และ สามารถทำอะไร ไม่ทำอะไรได้บ้าง นอกจากนั้นเมื่อเรารู้โซนที่ดินก็จะช่วยในการคำนวณค่าใช้จ่ายได้ ยิ่งเป็นโซนที่อยู่ใกล้ใจกลางเมือง ที่ดิน ค่าก่อสร้างก็อาจจะแพงมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องอาศัยปัจจัยอื่นในการคำนวณราคาด้วย (โซนสีที่ดินสามารถช่วยได้แค่ประเมินคร่าวๆ เท่านั้นเพราะยังจะต้องมาคิดในส่วนของค่าต่างๆ อีก) เพียงเท่านี้เราก็สามารถใช้โซนสีในการวางผังโรงงานได้แล้ว!!!

 

 

V.K.B บริษัทรับเหมาก่อสร้างที่มีประสบการณ์มากกว่า 30 ปี!!!

V.K.B ใส่ใจตั้งแต่ขั้นตอนการก่อสร้าง วางแผน การออกแบบ ตลอดจนการดูแลจนจบโครงการก่อสร้าง ทำให้จะต้องเลือกผู้รับเหมาที่มีความชำนาญ V.K.B contracting เป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ให้บริการมายาวนานกว่า 30 ปี ด้วยทีมที่เชี่ยวชาญ และ มีประสบการณ์ ที่พร้อมให้บริการออกแบบ ก่อสร้าง และ ให้คำแนะนำด้านการก่อสร้างทุกรูปแบบ ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานเราจะบริการอย่างเต็มที่ และ เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ

  • งานก่อสร้าง รับเหมาก่อสร้างด้วยทีมงาน บุคลากร และ Outsourch คุณภาพที่พร้อมบริการอย่างเต็มที่
  • งานออกแบบ มีผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ รวมทั้งนักออกแบบรุ่นใหม่ ที่พร้อมออกแบบเพื่อให้ตอบโจทย์ตามสไตล์ของคุณ
  • ให้คำปรึกษา และ บริหารโครงการ นอกจากการก่อสร้างแล้ว เรายังให้คำแนะนำ ปรึกษา และ ช่วยเหลือปัญหาที่เกิดจากการก่อสร้างทุกรูปแบบ

>>สามารถอ่าน วิธีเลือกผู้รับเหมาอย่างไรไม่ให้ทิ้งงาน ได้ที่นี่<<

 

 

สามารถสอบถาม V.K.B และ ดูข้อมูลเพิ่มเติมช่องทางอื่นๆ

Facebook : VKB Contracting

Line : @vkbth

Tel081-735-6625 , 097-445-4146 , 02-377-6591 , 02-735-1636 , 02-735-1637

Email : vkb.cont@gmail.com

ติดต่อเรา