โรงงานอุตสาหกรรม เป็นสถานที่ที่ใช้ผลิตสินค้าอุปโภค บริโภคทุกรูปแบบในปริมาณมาก ดังนั้นภายในโรงงานจึงประกอบไปด้วยวัตถุดิบ เครื่องจักร และพนักงานจำนวนมาก หากโรงงานดังกล่าว ดำเนินการก่อสร้างที่ไม่มีคุณภาพ หรือออกแบบมาได้ไม่ประสิทธิภาพ จากผู้ รับสร้างโรงงานอุตสาหกรรม และสถาปนิกที่ออกแบบ ก็อาจก่อให้เกิดปัญหาด้านการใช้งาน ที่ไม่คาดคิดในอนาคตขึ้นได้
ในบทความนี้ V.K.B. จะพาผู้ประกอบการทุกท่านที่ กำลังวางแผนจะสร้างโรงงานใหม่สำหรับธุรกิจของคุณ ว่าก่อนจ้างผู้รับเหมาต้องตรวจดูเรื่องใดบ้าง และก่อสร้างอาคารอย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งานของธุรกิจคุณมากที่สุด หากพร้อมแล้ว มาหาคำตอบพร้อมกันกับเราได้เลย !
ข้อควรรู้ ก่อนจ้างบริษัท รับสร้างโรงงานอุตสาหกรรม
หัวข้อนี้เราได้นำ Checklist หรือข้อควรรู้ก่อนสร้างโรงงานมาฝาก สำหรับท่านผู้ประกอบการที่กำลังศึกษา และตัดสินใจจะ สร้างโรงงาน เพื่อให้ได้โรงงานที่เอื้อต่อการเติบโตของธุรกิจของคุณได้ในระยะยาว ซึ่งการตรวจสอบ และเลือกสร้างโรงงานได้เหมาะสมนั้น จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการผลิต ตลอดไปจนถึงการป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคตได้ โดยปัจจัยที่ควรคำนึงถึง ก็จะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- ประเภทของโรงงานที่จะสร้าง – ประเภทของโรงงานอุตสาหกรรม จะเป็นตัวกำหนดตำแหน่งที่ตั้ง ตามกฎหมายได้อย่างคร่าว ๆ โดยหากทำผิดกฎดังกล่าว เจ้าของโรงงานอาจจำเป็นต้องเสียค่าชดเชยต่างๆ หรือต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกทั้งหมด โดยข้อจำกัดในการจัดตั้งโรงงาน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อ คือ
- โรงงานทุกประเภท ห้ามจัดตั้งในหมู่บ้านจัดสรร อาคารชุด หรือบ้านเพื่อพักอาศัย
- โรงงานประเภทที่ 1 และ 2 ห้ามก่อตั้งใกล้ เขตติดต่อสาธารณสถานภายในระยะ 50 เมตร ยกตัวอย่างเช่น โรงเรียน โรงพยาบาล วัด โบราณสถาน หรือแหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
- โรงงานประเภทที่ 3 ห้ามก่อตั้งใกล้ เขตติดต่อสาธารณสถานภายในระยะ 100 เมตร และต้องมีพื้นที่จัดการเพียงพอ ให้ไม่รบกวน หรือก่อความเสียหายแก่บุคคล และทรัพย์สินผู้อื่น
- ตรวจสอบทำเลที่ตั้ง และกฎหมายผังเมือง – โรงงานที่ดีต้องอยู่ใกล้กับผู้ผลิต ผู้กระจายสินค้า หรือลูกค้า เพื่อลดต้นทุน และสะดวกต่อการขนส่ง ทั้งนี้ต้องสอบถามกับสำนักงานท้องถิ่น เพื่อตรวจสอบถึงข้อจำกัดในการก่อตั้งให้ไม่ขัดต่อกฎหมาย และการวางผังเมืองด้วยเช่นกัน
- ต้นทุนที่ดิน และการจัดหาแรงงาน – ที่ดินในปัจจุบันมีราคาค่อนข้างสูง โดยเฉพาะทำเลที่มีศักยภาพ หากยิ่งอยู่ในทำเลที่ดี ก็จะเพิ่มต้นทุนทางด้านที่ดิน แต่หากไปอยู่ในทำเลที่ห่างไกล ก็อาจมีปัญหากับการจัดจ้างแรงงานที่ไม่มีคุณภาพเพียงพอ ในการดำเนินกิจการได้ ผู้ประกอบการจึงควรชั่งน้ำหนัก และวางแผนการจัดตั้งอย่างรอบคอบที่สุด
- คุณภาพของวัสดุ และงบประมาณโดยรวม – การเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพ และเหมาะสมกับฟังก์ชั่นการใช้งาน ในแต่ละส่วนของโรงงาน จะช่วยให้เราประหยัดงบประมาณโดยรวมของโครงการได้
- การคัดเลือกผู้รับเหมา – ควรทำการเลือกผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ทำงานสูง โดยเฉพาะผู้รับเหมาที่มีผลงานการสร้างโรงงาน เพราะสามารถมั่นใจได้ในระดับหนึ่งว่า ประสบการณ์ที่สั่งสมมาจะสามารถแนะนำ และสร้างโรงงานที่ดีให้กับเราได้แน่นอน
- อุปกรณ์ที่ใช้ในโรงงาน – สำหรับการจัดตั้งโรงงานจำเป็นต้องมีการสำรวจความต้องการพื้นฐาน สำหรับการผลิตสินค้า เพื่อให้เหมาะสมกับการลงทุนมากที่สุด เพราะนอกจากจะเป็นตัวกำหนดฟังก์ชั่นภายในของโรงงานแล้ว ผู้ประกอบการจำเป็นต้อง มองถึงการวางผังโรงงานให้รองรับกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะมาติดตั้ง ไม่ว่าจะเป็น เครนยกของภายในโรงงาน เครื่องจักรขนาดใหญ่ หรือพื้นที่สำหรับการจัดเก็บสินค้าเพื่อรองรับการผลิต
สร้างโรงงานอย่างไรให้ได้มาตรฐาน ?
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า การก่อสร้างโรงงานนั้น จำเป็นต้องดำเนินการตามมาตรฐาน และครอบคลุม เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และถูกต้องตามข้อกฎหมายบังคับ ไม่ว่าจะเป็น มาตรฐานกฎหมายควบคุมอาคาร หรือมาตรฐานความปลอดภัย โดยเมื่อผู้ประกอบการ มีแผนจะขึ้นโครงการ ก็จำเป็นต้องมีการออกแบบอาคารเพื่อหารูปแบบอาคารที่ตอบโจทย์ธุรกิจของผู้ประกอบการ เมื่อได้แบบอาคาร และมีการขออนุญาติก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว ก็ถึงขั้นตอนหาผู้รับเหมา ซึ่งการก่อสร้างหรือหาผู้ รับสร้างโรงงาน ที่มีประสบการณ์สูงจะช่วยให้การก่อสร้างออกมาดี ราบรื่นใกล้เคียงแผนระยะเวลาก่อสร้าง ดังนั้น มีปัจจัยใดบ้างที่ควรคำนึงถึง ในการ ก่อสร้างโรงงาน เพื่อให้ได้มาตรฐาน ทางเราได้สรุปออกมาเบื้องต้น ดังนี้
- การจัดซื้อวัสดุ เก็บรักษา – ในขั้นตอนนี้ทางผู้รับเหมาจะทำการซื้อวัสดุก่อสร้างตามใบ BOQ ซึ่งจะระบุรายละเอียด วัสดุในแต่ละส่วนที่ใช้ในการก่อสร้างโรงงาน เนื่องจาก วัสดุบางประเภท ก็จำเป็นต้องมีการจัดสรรพื้นที่จัดเก็บรักษา เพื่อให้สามารถดำเนินงานก่อสร้างได้อย่างราบรื่นไม่ติดขัดเป็นไปตามแผนงาน
- การก่อสร้างฐานราก – การก่อสร้างฐานรากของโรงงานนั้นจำเป็นต้องใช้หลักการทางวิศวกรรม และการคำนวณลักษณะตามธรรมชาติของสภาพพื้นที่นั้นๆ โดยฐานรากมีความสำคัญเพราะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักของตัวอาคาร และอยู่ใต้ดิน โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆได้แก่ ฐานรากแบบแผ่ กับ ฐานรากแบบเสาเข็ม
- พื้นโรงงาน – เนื่องจากพื้นในโรงงานอุตสหากรรมที่นิยมใช้นั้นมีอยู่หลายประเภท เช่น พื้นคอนกรีต พื้นอีพ็อกซี พื้นพียู ซึ่งการเลือกพื้นในโรงงานอุสาหกรรมนั้น จะต้องคำนึงถึงหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น วัตถุประสงค์ของการใช้งาน กฎเกณฑ์ มาตรฐานต่างๆ รวมถึงคุณสมบัติเด่นของพื้นแต่ละชนิดเพื่อให้การทำงานเป็นไปได้อย่างราบรื่น หากคุณรู้ว่าตัวเลือกใดที่เหมาะกับโรงงานของคุณ จะช่วยประหยัดเวลา และประหยัดเงินด้วยเช่นกัน
- การก่อสร้างโครงสร้าง – โครงสร้างอาคารเป็นส่วนที่รับน้ำหนักส่วนต่างๆไว้ ซึ่งในขั้นตอนออกแบบจำเป็นต้องคำนึงถึง การรับน้ำหนักร่วมด้วยเพื่อให้ตรงกับฟังก์ชันการใช้งานของโรงงาน เช่น พื้นที่วางเครื่องจักร หรือเครนยกของในโรงงาน นอกจากนี้โครงสร้างบางส่วนยังเป็นตัวกำหนดรูปทรงอาคารของโกดังหรือโรงงานอีกด้วย
- การติดตั้งหลังคา – หลังคาของโรงงานนั้นมีการใช้งานวัสดุที่หลากหลาย โดยวัสดุแต่ละประเภทก็จะมีข้อจำกัด และข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันไป โดยในขั้นตอนการติดตั้งนั้นจำเป็นต้องวางระดับแนวหลังคาให้ดี และปิดจุดป้องกันการรั่วซึม ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
- การก่อผนัง และ การกั้นห้อง – ในส่วนของผนังกั้นก็สามารถเลือกวัสดุได้ตามงบประมาณ และความต้องการ ยกตัวอย่างเช่น หากเป็นส่วนอาคารสำนักงาน ควรเลือกใช้ ผนังก่ออิฐ ร่วมกับการใช้ ผนังเบา ในการกั้นห้อง
- งานตกแต่ง และตรวจสอบความเรียบร้อย – หลังจากได้โรงงานที่เกือบจะสมบูรณ์แล้ว ก็จะถึงส่วนงาน สถาปัต เช่น ติดตั้งประตู หน้าต่าง ทาสี หรือติดตั้งอุปกรณ์แจ้งเตือนต่างๆ ฯลฯ เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้วทางผู้รับเหมาก็จะตรวจสอบ Checklist แก้ไข ร่วมกับผู้ประกอบการ เพื่อนำไปปรับแก้ และส่งมอบงานตามลำดับ
นอกจากโครงสร้าง และสถาปัตยกรรมภายนอกของโรงงานแล้ว ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงงานระบบที่สำคัญภายในอาคารร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น
- ระบบประปา และการบำบัดน้ำเสีย – จัดให้มีระบบประปา ระบบระบายน้ำและบำบัดน้ำเสียอย่างสมเหตุสมผล สอดคล้องกับเงื่อนไขในด้านกฎหมายสุขอนามัยสิ่งแวดล้อม โดยต้องไม่ส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำสะอาด สภาพแวดล้อม โดยรอบ
- ระบบระบายอากาศ และช่องระบายอากาศภายในอาคาร – ออกแบบระบบระบายอากาศตามธรรมชาติ หรือติดตั้งอุปกรณ์ระบายอากาศสำหรับโรงงาน เพื่อให้เกิดการถ่ายเทอากาศและอุณหภูมิภายในโรงงานที่เหมาะกับผู้คนที่ทำงานภายในอาคาร ควบคุมกลิ่นที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ และควบคุมความชื้นในอากาศเพื่อความปลอดภัย
- ระบบแสงสว่าง – ให้มีแสงธรรมชาติ หรือแสงประดิษฐ์อย่างเพียงพอ เพื่อให้กระบวนการทำงานราบรื่น เมื่อออกแบบระบบไฟส่องสว่าง ผู้ออกแบบควรคำนึงถึงความเข้มของแสงขณะทำงาน ยกตัวอย่างเช่น คลังสินค้าหรือโกดังเก็บของ ความเข้มของแสงอยู่ที่ 200 lux/ ตรม. ออฟฟิศสำนักงาน 500 lux/ตรม. เป็นต้น (อ้างอิงจาก ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง มาตรฐานความเข้มของแสงสว่าง พ.ศ. 2560)
V.K.B รับสร้างโรงงานอุตสาหกรรมแบบครบวงจร
จะเห็นได้ว่าการสร้างโรงงานที่มีคุณภาพนั้น จำเป็นต้องคำนึงถึงรูปแบบ มาตรฐาน และโครงสร้างหลากหลายมิติ โดยการจ้างผู้รับเหมา ที่มีความเชี่ยวชาญ และ มีประสบการณ์อยู่ในวงการก่อสร้างมาอย่างยาวนาน จะสามารถมอบคำปรึกษา และแนะนำข้อควรปฏิบัติดี ๆ ให้กับคุณได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณได้โรงงานสมบูรณ์แบบตามต้องการ พร้อมช่วยปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตอีกด้วย
เราจึงขอแนะนำ V.K.B. ผู้รับเหมาชั้นนำด้าน ก่อสร้างโรงงาน เรายังมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำแนะนำ หรือคำปรึกษาด้านการก่อ สร้างโรงงาน ทุกรูปแบบ ให้บริการตั้งแต่การก่อสร้าง ออกแบบ ให้คำปรึกษาในการบริหารโครงการ โดยที่ดูแลคุณตั้งแต่ต้นจนถึงวันที่ส่งมอบงาน ทำให้คุณมั่นใจได้เลยว่าทุกบริการ จะตอบโจทย์ความต้องการ และมีคุณภาพอย่างแน่นอน
- งานก่อสร้าง รับเหมาก่อสร้างด้วยทีมงาน บุคลากร และ Outsource คุณภาพที่พร้อมบริการอย่างเต็มที่
- งานออกแบบ มีผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ รวมทั้งนักออกแบบรุ่นใหม่ ที่พร้อมออกแบบเพื่อให้ตอบโจทย์ตามสไตล์ของคุณ
- ให้คำปรึกษา และ บริหารโครงการ นอกจากการก่อสร้างแล้ว เรายังให้คำแนะนำ ปรึกษา และ ช่วยเหลือปัญหาที่เกิดจากการก่อสร้างทุกรูปแบบ
ต้องการผู้ รับสร้างโรงงานอุตสาหกรรม ดีๆ สามารถสอบถาม V.K.B และ ดูข้อมูลเพิ่มเติมช่องทางอื่นๆ ได้เลย
Facebook : VKB Contracting
Line : @vkbth
Tel : 081-735-6625 , 097-445-4146 , 02-377-6591 , 02-735-1636 , 02-735-1637
Email : vkb.cont@gmail.com