โรงงานมีกี่ประเภท มีอะไรบ้างที่ควรระวัง

อยากสร้างโรงงานต้องรู้! โรงงานมีกี่ประเภท มีอะไรบ้างที่ควรระวัง

รู้หรือไม่ว่า “โรงงานมีกี่ประเภท?” สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ ที่กำลังวางแผนเปิดโรงงานเป็นของตัวเอง มีต้นทุนในการ สร้างโรงงาน อย่างเดียวคงไม่พอ เพราะต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบ วันนี้ทาง V.K.B จะมาแนะนำข้อควรรู้ และข้อควรระวัง ที่ไม่ควรมองข้ามในการก่อสร้างโรงงาน เพื่อเป็นแนวทางให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้ในระยะยาว

 

อยาก สร้างโรงงาน ต้องรู้อะไรก่อนบ้าง

อยาก สร้างโรงงาน ต้องรู้อะไรก่อนบ้าง

การ ก่อสร้างโรงงาน นับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่ก็ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า สำหรับธุรกิจที่ต้องการ เติบโตในระยะยาว หากมีต้นทุนเพียงพอที่จะเปิดโรงงานเป็นของตัวเอง จะส่งผลดีต่อตัวธุรกิจในด้านการบริหารคลังสินค้า และการควบคุมคุณภาพการผลิตสินค้า ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

แต่การเปิดโรงงานต้องวางแผนอย่างรอบคอบ เพราะมีหลายปัจจัยที่จำเป็นต้องรู้เพื่อโอกาสทางธุรกิจ โดยเรามีข้อแนะนำสำหรับผู้ประกอบการที่อยากมีโรงงานเป็นของตัวเองอยู่ 4 ข้อ ดังนี้

1. การวิเคราะห์การลงทุนก่อนเปิดโรงงาน

โรงงานในแต่ละอุตสาหกรรมนั้น มีรูปแบบการก่อสร้างที่ไม่เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของตัวอาคาร หรือโครงสร้างภายใน โดยสิ่งแรกที่ควรรู้ คือ วัตถุประสงค์ของโรงงานที่กำลังจะก่อสร้างนั้น มีจุดประสงค์ในการผลิตสินค้าประเภทใด เพื่อการออกแบบภายในโรงงาน และก่อสร้างออกมาได้ตรงตามวัตถุประสงค์

ดังนั้นก่อนเริ่มสร้างโรงงาน ควรวางแผนการลงทุนอย่างรอบคอบ เช่น การคุมงบประมาณ เพราะนอกจากค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโรงงานแล้ว ยังมีค่าเครื่องจักรอุตสาหกรรมจำนวนมาก รวมไปถึงการจ้างพนักงานในอนาคตด้วย

2. เลือกทำเลที่ตั้งให้เหมาะสม 

โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ จัดเป็นสถานที่ที่มีการขนส่งสินค้าจำนวนมาก ดังนั้นเรื่องของทำเลที่ตั้ง จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ต้องเลือกให้ดีก่อนสร้างโรงงาน และควรศึกษาให้ดีว่าสถานที่นั้น สามารถทำการปลูกสร้างโรงงานได้หรือไม่ ถ้าไม่ศึกษาตามข้อกฎหมายให้ดีอาจต้องเสียค่าชดเชย และเสียค่ารื้อถอนในภายหลัง นอกจากนี้ควรคำนึงถึงการคมนาคมขนส่ง เพราะจะส่งผลต่อต้นทุนการผลิตของธุรกิจ

3. เตรียมทำโรงงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย

หลังจากเลือกทำเลที่ตั้ง และมีแบบอาคารโรงงานตามที่ต้องการแล้ว ขั้นตอนต่อมา คือ การขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน ประกอบไปด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่

  1. ดำเนินการเรื่องเอกสารเพื่อยื่นขอคำร้อง ซึ่งเจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณา และตรวจสอบว่าเป็นไปตามคำร้องหรือไม่
  2. ถ้าหากขั้นตอนแรกผ่านแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ
      • การวางแผนจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้าง
      • ขอมาตรฐานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเภทของธุรกิจ

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการเปิดโรงงานผลิตอาหาร อุตสาหกรรมประเภทนี้จัดอยู่ในที่ดินเขตพื้นที่สีม่วง ประเภท อ.1 คือ โรงงานประเภทอุตสาหกรรมการผลิตที่มีมลพิษน้อย จะต้องมีการยื่นเรื่องเพื่อให้เจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบสถานที่ผลิต และจัดเก็บข้อมูล

โดยแนบเอกสารต่างๆ ตามที่ถูกร้องขอ แล้วยื่นไปยังศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเตล็ด ณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ถ้าหากจัดตั้งในต่างจังหวัดก็สามารถนำไปยื่นเรื่องกับสำนักงานสาธารณสุขประจำจังหวัดนั้นๆ ได้

 

โรงงานมีกี่ประเภท?

โรงงานมีกี่ประเภท?

ตามกฎหมาย “โรงงาน” เป็นสถานที่ที่ประกอบไปด้วยเครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่ 50 แรงม้า หรือใช้คนงาน 50 คนขึ้นไปสำหรับทำการผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อมบำรุง ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใดๆ จำเป็นต้องดำเนินตามขั้นตอน และเงื่อนไขที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนดไว้ ตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2562 ซึ่งได้กำหนดโรงงานไว้ 3 ประเภท ได้แก่

  • โรงงานประเภทที่ 1 เป็นโรงงานที่ใช้เครื่องจักรไม่เกิน 20 แรงม้า และคนงานไม่เกิน 20 คน ไม่ก่อปัญหามลพิษ
    สิ่งแวดล้อม หรือเหตุเดือดร้อนอันตราย เช่น ฟักไข่โดยใช้ตู้อบ, ซ่อมรองเท้าหรือทำเครื่องหนังทุกขนาด, โรงงานซ่อมนาฬิกาหรือเครื่องประดับ เป็นต้น โดยโรงงานประเภทนี้ไม่ได้อิงกับขนาดของแรงม้าเป็นหลัก
  • โรงงานประเภทที่ 2 เป็นโรงงานที่ใช้เครื่องจักรมากกว่า 50 แรงม้า และมีจำนวนคนงานมากกว่า 50 คน แต่ไม่เกิน 75 คน อาจก่อปัญหามลพิษหรือเหตุเดือดร้อนเล็กน้อย ที่สามารถแก้ไขปรับปรุงได้ไม่ยาก เช่น โรงงานผลิตเครื่องดื่ม หรือ โรงงานผลิตน้ำแข็ง เป็นต้น โรงงานประเภทนี้ผู้ผลิตไม่จำเป็นต้องขออนุญาต แต่ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนเริ่มดำเนินงานประกอบกิจการ
  • โรงงานประเภทที่ 3 เป็นโรงงานที่ใช้เครื่องจักรมากกว่า 75 แรงม้า และมีจำนวนคนงานมากกว่า 75 คน โรงงานประเภทนี้จะต้องมีใบ ร.ง.4 ตามกฎกระทรวง และต้องทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment) หรือ EIA เนื่องจากเป็นโรงงานที่มีขนาดใหญ่ และอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ใกล้เคียง เช่น โรงงานเกี่ยวกับน้ำมันจากพืช และ สัตว์, โรงงานผลิตแอลกอฮอล์, โรงงานเกี่ยวกับไม้ หรือโรงงานฟอกย้อมสี เป็นต้น

โดยโรงงานประเภทที่ 1 และ 2 ห้ามก่อตั้งกิจการในระยะ 50 เมตร จากเขตติดต่อสาธารณสถาน ได้แก่ โรงเรียน, โรงพยาบาล, วัด, โบราณสถาน และแหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนโรงงานประเภทที่ 3 ห้ามก่อตั้งกิจการในระยะ 100 เมตร จากเขตติดต่อสาธารณสถาน และต้องอยู่ในสถานที่ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีบริเวณเพียงพอ ไม่ก่อให้เกิดอันตราย หรือสร้างความเสียหายต่อบุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่น

 

จำแนกโรงงานตามประเภทธุรกิจ

จำแนกโรงงานตามประเภทธุรกิจ

สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจหรือนักลงทุนที่ต้องการสร้างโรงงาน คุณควรเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจประเภทต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบกิจการ ซึ่งสามารถจำแนกโรงงานอุตสาหกรรมตามประเภทของธุรกิจได้ 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้

  1. อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หมายถึง อุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานมนุษย์, เครื่องจักร, อุปกรณ์ และเงินลงทุนจำนวนมาก เช่น อุตสาหกรรมถลุงเหล็ก และผลิตเหล็กกล้า เป็นต้น
  2. อุตสาหกรรมขนาดย่อม หมายถึง อุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานมนุษย์, เครื่องจักร, อุปกรณ์ รวมถึงเงินทุนที่น้อยกว่าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยส่วนมากจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเครื่องอุปโภาค-บริโภคทั่วไป เช่น น้ำมัน, น้ำปลา หรือน้ำตาล เป็นต้น
  3. อุตสาหกรรมในครัวเรือน หมายถึง อุตสาหกรรมที่ทำกันภายในครอบครัวหรือในบ้านที่อยู่อาศัย โดยเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานคนเป็นส่วนใหญ่ ในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ใช้ความชำนาญทางฝีมือ เช่น การแกะสลัก หรือการจักสาน เป็นต้น

 

ข้อควรระวังการ ก่อสร้างโรงงาน

ข้อควรระวังการ ก่อสร้างโรงงาน

นักลงทุนหรือผู้ประกอบการธุรกิจ ที่ต้องการพัฒนาธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม จำเป็นต้องรู้ข้อควรระวังในการก่อสร้างโรงงาน เพื่อจัดเตรียมวิธีรับมือหากเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต ซึ่งข้อควรระวังที่ต้องวางแผนให้ดีก่อน ก่อสร้างโรงงาน มีดังนี้

1. เลือกพื้นที่ก่อสร้างโรงงานให้เหมาะสม

ก่อนสร้างโรงงานผู้ประกอบการจำเป็นต้องหาข้อมูลของโรงงานที่อยู่รอบข้าง เพื่อพิจารณาถึงปัจจัยที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการผลิตของตนเองในระยะยาว ควรหลีกเลี่ยงการก่อสร้างโรงงาน ในบริเวณที่เคยเป็นสระน้ำหรือบ่อน้ำมาก่อน เพราะเสี่ยงเกิดปัญหาดินทรุดในอนาคต แต่ถ้าจำเป็นต้องถมที่ดินในพื้นที่บริเวณนี้ ต้องพิจารณาเรื่องการถมที่อย่างรอบคอบ แนะนำว่าควรเลือกทรายดำในการถมที่ และบดอัดแต่ละชั้นให้แน่น

2. คำนวณค่าใช้จ่ายว่าคุ้มหรือไม่

ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงงบประมาณที่ต้องการลงทุน เพราะต้องวางแผนเรื่องระบบการจัดการ, คำนวณค่าเครื่องจักร, ค่าบำรุงรักษา, การว่าจ้างพนักงาน รวมถึงคำนวณผลประกอบการที่ออกมาว่าคุ้มค่ามากแค่ไหน และได้ทุนคืนภายในระยะเวลาเท่าไหร่ เพราะถ้าหากวางแผนค่าใช้จ่ายไม่ดี อาจต้องเพิ่มการลงทุนไปเรื่อยๆ ทำให้ค่าใช้จ่ายบานปลาย และอาจส่งผลเสียต่อตัวธุรกิจได้ในอนาคต

3. เลือกผู้รับเหมาก่อสร้างที่เชี่ยวชาญ

ผู้รับเหมาในแวดวงก่อสร้างมีอยู่มากมาย แต่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถดำเนินการก่อสร้างอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้ เพราะการสร้างโรงงานไม่ได้มีโครงสร้างเหมือนอสังหาริมทรัพย์ทั่วไป จึงจำเป็นที่ต้องเลือกผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ในด้านการ ก่อสร้างโรงงาน ที่สำคัญบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ดีต้องมีบริการครบวงจร และสามารถแจกแจงงบประมาณคร่าวๆ ได้ว่าต้องใช้ต้นทุนในการก่อสร้างเท่าไหร่ เพื่อช่วยประหยัดต้นทุนของผู้ประกอบการ

ขอแนะนำ V.K.B บริษัทรับเหมาก่อสร้างที่มาพร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญ สามารถให้คำปรึกษาด้านการก่อสร้างได้ทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ พร้อมดูแลตั้งแต่ต้นจนจบงาน รับรองว่าคุณภาพที่ได้จะทำให้โรงงานของคุณมีประสิทธิภาพในระยะยาวแน่นอน

 

 

มองหาผู้รับเหมา ก่อสร้างโรงงาน ที่มีความเชี่ยวชาญต้อง V.K.B

ก่อนลงทุน ก่อสร้างโรงงาน ผู้ประกอบการต้องเริ่มจากการวางแผนระบบการจัดการให้ครอบคลุม และเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ขอแนะนำ V.K.B contracting บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ที่ให้บริการมาอย่างยาวนานกว่า 30 ปี มีทีมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ สามารถให้คำแนะนำด้านการก่อสร้างทุกรูปแบบ ทำให้คุณมั่นใจได้เลยว่าทุกบริการจะตอบโจทย์ความต้องการ และ มีคุณภาพอย่างแน่นอน

  • งานก่อสร้าง รับเหมาก่อสร้างด้วยทีมงาน บุคลากร และ Outsource คุณภาพที่พร้อมบริการอย่างเต็มที่
  • งานออกแบบ มีผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ รวมทั้งนักออกแบบรุ่นใหม่ ที่พร้อมออกแบบเพื่อให้ตอบโจทย์ตามสไตล์ของคุณ
  • ให้คำปรึกษา และ บริหารโครงการ นอกจากการก่อสร้างแล้ว เรายังให้คำแนะนำ ปรึกษา และ ช่วยเหลือปัญหาที่เกิดจากการก่อสร้างทุกรูปแบบ

 

 

 

สามารถสอบถาม V.K.B และ ดูข้อมูลเพิ่มเติมช่องทางอื่นๆ

Facebook : VKB Contracting

Line : @vkbth

Tel : 081-735-6625 , 097-445-4146 , 02-377-6591 , 02-735-1636 , 02-735-1637

Email : vkb.cont@gmail.com

ติดต่อเรา