โครงสร้างบ้าน มีอะไรบ้าง ? ก่อนสร้างบ้านสักหลังหนึ่ง เจ้าของบ้านจำเป็นต้องรู้จักส่วนประกอบหลักๆ ที่สำคัญของสิ่งปลูกสร้างทุกชนิด เพราะบ้านจะแข็งแรงได้ก็ต่อเมื่อเราเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพ และเหมาะสม
ดังนั้นก่อนเริ่มต้นสร้างบ้าน ผู้ว่าจ้างจะต้องเข้าใจในทุกส่วนประกอบของโครงสร้าง ตั้งแต่การเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง การเลือกใช้วัสดุ รวมถึงกระบวนการก่อสร้าง และสำหรับใครที่เป็นผู้ว่าจ้างมือใหม่ ถ้าอยากรู้รายละเอียดความสำคัญ และส่วนประกอบต่างๆ ของโครงสร้างบ้าน วันนี้ V.K.B มีคำตอบ!
สิ่งสำคัญในการสร้างบ้าน
การสร้างบ้านมีหลายสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ ทั้งในส่วนการออกแบบตัวบ้านให้เหมาะกับความต้องการของผู้อยู่อาศัย การดำเนินการก่อสร้าง และการเลือกใช้วัสดุ ทั้งนี้ก่อนจะมาคำนึงถึงสิ่งต่างๆ ข้างต้น มาดูกันว่าก่อนเริ่มต้นสร้างบ้านสักหลัง มีปัจจัยใดบ้างที่ต้องคำนึงถึง และให้ความสำคัญ
- ที่ดินพร้อมสร้างบ้าน ขั้นตอนแรกสำหรับการวางแผนสร้างบ้าน คือ ที่ดินพร้อมใช้งาน ผู้ว่าจ้างจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่นี้ว่าสามารถสร้างที่อยู่อาศัยได้หรือไม่ ในพื้นที่มีไฟฟ้า หรือน้ำประปาไหม? เพื่อความพร้อมในการอยู่อาศัย
- ที่ดินต้องถมหรือไม่? ก่อนอื่นผู้ว่าจ้างควรประเมินที่ดินของตนเองก่อนว่า ควร ถมที่ดิน เพิ่มหรือไม่ ถ้าหากพิจารณาแล้วที่ดินของเราค่อนข้างต่ำ เสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม หากเป็นเช่นนี้ก็ควรถมที่ดินเพิ่มเติม ซึ่งแนะนำว่าควรถมให้สูงกว่าถนนประมาณ 50 เมตร เพื่อป้องกันปัญหาฝุ่นละออง
- วางแผนเรื่องงบประมาณให้พร้อม การวางแผนงบสร้างบ้านเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่ต้องคำนึงถึง ซึ่งงบประมาณจะขึ้นอยู่กับหลากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ค่าก่อสร้างบ้าน, ค่าถมที่ดิน (ในกรณีที่ต้องถมที่ดินเพิ่ม), ค่าวัสดุ, ค่าแรงงาน รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ เกี่ยวกับการสร้างบ้าน
โดยเราสามารถคำนวณ เงินที่มี กับ เงินกู้ (หากต้องกู้เงิน) ที่ใช้ในการสร้างบ้านครั้งนี้ โดยวางแผนว่าต้องการลงเงินสดกี่เปอร์เซ็นต์ และ ต้องการกู้เงินกี่เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้วิธีการคำนวณของแต่ละคนจะแตกต่างกันออกไปตามงบประมาณที่วางไว้
- เลือกแบบบ้าน/จ้างเขียนแบบ ในขั้นตอนนี้เป็นการจ้างผู้ออกแบบ ช่วยออกแบบบ้าน และอาคารให้ตรงตามที่ลูกค้าต้องการ เพื่อให้เห็นภาพอธิบายที่ชัดเจนขึ้น ทางเราจึงขอยกตัวอย่าง ดังนี้
ก่อนว่าจ้างผู้รับเหมาก่อสร้าง ขั้นตอนแรกที่ผู้ว่าจ้างต้องเตรียมให้พร้อม คือ การหาแบบบ้านที่ต้องการ/จ้างเขียนแบบ ควรวางแผนว่าต้องการดีไซน์พื้นที่ใช้สอยภายในบ้านอย่างไร และภายในบ้านควรมีฟังก์ชันอะไรบ้าง อย่างเช่น การดีไซน์ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น หรือ ห้องครัว เป็นต้น
หลังจากเลือกแบบบ้านแล้ว ต้องว่าจ้างเขียนแบบ เพื่อนำแบบบ้านไปขออนุญาตก่อสร้าง และจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างตามที่ต้องการ สิ่งสำคัญในการก่อสร้างหลังจากเลือกแบบบ้าน คือ แบบบ้านของเราจะต้องผ่านการเซ็นแบบรับรองโดยวิศวกรและสถาปนิกก่อน ถึงจะนำไปยื่นขออนุญาตได้
- การขออนุญาตก่อสร้าง สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างบ้าน การขออนุญาตก่อสร้างเป็นขั้นตอนอย่างหนึ่งที่ทางกฎหมายบังคับไว้อย่างเคร่งครัด หากปล่อยปละละเลย ถ้ามีการตรวจสอบย้อนหลังทางกฎหมายอาจจะต้องได้รับโทษทางกฎหมายได้
การขออนุญาตก่อสร้าง คือ สิ่งที่กฎหมายสามารถตรวจสอบได้ถึงความปลอดภัยเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารต่างๆ เพราะถ้าหากมีการก่อสร้างอย่างไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นไปตามหลักวิศวกรรม อาจทำให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเองและบุคคลอื่นได้
โครงสร้างบ้าน มีอะไรบ้าง
เมื่อวางแผนการสร้างบ้านแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่ผู้ว่าจ้างจำเป็นต้องรู้ คือ องค์ประกอบสำคัญของการสร้างบ้าน แน่นอนว่าการสร้างบ้านหนึ่งหลังจะมีการออกแบบที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความชอบของผู้อยู่อาศัย
โดยบ้านหนึ่งหลังจะแบ่งองค์ประกอบของโครงสร้างได้หลายส่วน ทั้งด้านการออกแบบ การก่อสร้าง รวมถึงการเลือกใช้วัสดุ แต่สิ่งสำคัญที่ผู้อยู่อาศัยหลายคนต้องการ คือ ดีไซน์บ้านที่ตอบโจทย์การใช้งาน และ ความปลอดภัย
ดังนั้นเจ้าของบ้านจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของโครงสร้างบ้าน เพื่อให้บ้านของเราออกมาในแบบที่ต้องการ และป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด และ V.K.B ก็ได้นำ 4 องค์ประกอบสำคัญของการสร้างอาคาร และบ้านเรือนมาฝากทุกคน ซึ่งจะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย!
ฐานราก
ฐานราก หรือ งานฐานราก เป็นโครงสร้างที่มีความสำคัญและใช้เป็นส่วนแรกในการก่อสร้าง มีหน้าที่ใช้สำหรับรองรับน้ำหนักของตัวอาคาร เพื่อถ่ายน้ำหนักลงสู่ชั้นดิน การออกแบบฐานรากโดยทั่วไปจะเป็นหน้าที่ของวิศวกรโยธาในการคำนวณขนาดและการเลือกใช้วัสดุ
การเลือกใช้งานต้องพิจารณาหลายองค์ประกอบ โดยดูจากลักษณะของดินหรือชั้นดินในบริเวณก่อสร้าง ว่ามีชั้นดินรับน้ำหนักอยู่ที่ระดับความลึกเท่าไร หากเป็นชั้นดินที่มีการรับน้ำหนักลึก ควรใช้ฐานรากที่ต้องมีระบบเสาเข็ม เพื่อให้น้ำหนักของสิ่งปลูกสร้างไปอยู่ในชั้นดินดังกล่าว
สำหรับการเลือกชนิดของฐานรากนั้นจะขึ้นอยู่กับขนาด และประเภทของอาคารที่กำลังก่อสร้าง โดยฐานรากสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้
1. ฐานรากเสาเข็ม คือ โครงสร้างที่เป็นฐานรากอยู่ใต้ผิวดิน เพื่อรองรับน้ำหนักจากสิ่งปลูกสร้างแล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่ตัวเสาเข็ม นิยมใช้เสาเข็มบริเวณก่อสร้างที่เป็นดินเนื้ออ่อน ซึ่งไม่สามารถรับน้ำหนักของโครงสร้างบ้านได้ โดยการเลือกใช้เสาเข็มจะต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านน้ำหนักที่บรรทุกว่า มีมากเกินกว่าคุณสมบัติของดินที่จะได้รับหรือไม่
หากคุณสมบัติของดินในบริเวณนั้นๆ อ่อนตัวมาก ถ้าไม่ใช้เสาเข็มรองรับฐานรากอาจทำให้สิ่งปลูกสร้างไม่สามารถทรงตัวอยู่ได้ และจุดเด่นของฐานรากแบบเสาเข็ม คือ เป็นฐานรากแบบลึก และที่นิยมนำมาใช้ในปัจจุบัน คือ เสาเข็มคอนกรีต หรือเสาเข็มไม้สำหรับบ้านไม้
2. ฐานรากแบบแผ่ คือ ฐานรากที่รองรับน้ำหนักจากตัวอาคารแล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่ชั้นดินได้โดยตรง ฐานรากแบบแผ่จะมีความลึกเพียง 2-3 เมตรเท่านั้น นิยมนำมาใช้กับพื้นที่มีสภาพดินเนื้อแข็ง และมีความหนาแน่นพอที่จะรองรับน้ำหนักทั้งหมดของตัวบ้านและอาคารได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้เสาเข็มในการช่วยรับน้ำหนัก เหมาะสำหรับอาคารที่ไม่มีน้ำหนักมากจนเกินไป
3. ฐานรากแบบตอม่อ คือ ฐานรากที่ทำจากคอนกรีตตอม่อหล่อลึกลงไปในชั้นดินหรือน้ำ มีความแข็งแรงทนทานค่อนข้างมาก แต่ไม่นิยมใช้ในการสร้างบ้านพักอาศัย
เสา
เสา คือ ส่วนประกอบหลักของโครงสร้างอาคาร ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักจากคานของทุกชั้น เพื่อถ่ายเทน้ำหนักลงสู่ตอม่อและฐานรากต่อไป โดยสถาปนิกกับวิศวกรจะเป็นผู้กำหนดหน้าตัดเสา ตามความเหมาะสมของรูปแบบและลักษณะโครงสร้าง
เสาสำหรับก่อสร้างบ้านจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เสาไม้ เสาเหล็ก และ เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนการเลือกใช้งานควรพิจารณาจากชนิดของวัสดุ เพื่อความเหมาะสมของโครงสร้าง
1. เสาไม้ ทำจากวัสดุที่เป็นไม้ เสาประเภทนี้โดดเด่นในเรื่องความสวยงามแบบธรรมชาติ และมีลวดลายสวยงามกว่าเสาประเภทอื่น แต่มีราคาสูง ไม้ที่นิยมนำทำเสาส่วนใหญ่จะเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ตะเคียน ไม้เต็ง ไม้ชิงชัน ไม้มะม่วง หรือจำพวกไม้เนื้อแกร่ง เช่น ประดู่ ไม้เกลือ และไม้แดง เป็นต้น
ในปัจจุบันไม้ที่นำมาทำเสาต้องเป็นไม้ขนาดใหญ่ โดยใช้เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว มีน้ำหนักมาก ทำให้ขนย้ายยาก และไม้คืออาหารของปลวก ดังนั้นต้องระวังเรื่องปลวกเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง
2. เสาเหล็ก ทำจากวัสดุที่เป็นเหล็ก เสาประเภทนี้จะมีน้ำหนักเบากว่าเสาประเภทอื่น และมีราคาถูก นิยมนำไปใช้งานเกี่ยวกับอาคารจอดรถ และงานโกดังต่างๆ แต่ไม่นิยมนำไปสร้างบ้าน เพราะไม่ทนทานต่อไฟ โดยส่วนใหญ่เสาเหล็กจะเป็นรูปแบบสำเร็จรูป ซึ่งมีด้วยกัน 2 ประเภทนั่นคือ
- เสาเหล็กรูปพรรณ เสารูปแบบนี้นิยมนำมาใช้สร้างบ้าน มีหน้าตัดหลากหลายรูปแบบตามมาตรฐาน ทั้งเหล็กรูปตัวไอ (I) ตัวเฮช (H) หรือกล่อง (Tube)
- เสาโครงข้อแข็ง เสาชนิดนี้นิยมนำมาใช้ยึดข้อต่อเข้าด้วยกัน แบบยึดแน่น โดยอาศัยการเชื่อมต่อที่มีความแข็งแรง
ถึงแม้ว่าเสาเหล็กจะมีน้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายได้สะดวก และสามารถสร้างเสร็จค่อนข้างรวดเร็ว แต่ไม่สามารถทนความร้อนได้ และเกิดการกัดกร่อนได้ง่าย ดังนั้นต้องรักษาวัสดุด้วยการห้อหุ่มวัสดุกันไฟ และทาสีกันสนิมเพื่อป้องกันการถูกกัดกร่อน
3. เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ทำจากคอนกรีตที่ใส่เหล็กเสริม เพิ่มความสามารถในการรับแรงอัด แรงดึง และแรงดัดได้ดี ทำหน้าที่รับน้ำหนักของตัวอาคาร โดยตัวอาคารจะถ่ายน้ำหนักลงมาในแนวดิ่ง และในบางครั้งอาจจะต้องรับโมเมนต์ดัดด้วย เสาคอนกรีตเสริมเหล็กจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- เสาคอนกรีตหล่อในที่
- เสาคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูป
ซึ่งเสาคอนกรีตเสริมเหล็กแต่ละรูปแบบ จะมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันไป ทั้งในเรื่องวิธีการก่อสร้าง ความสามารถในการรับน้ำหนัก และโครงสร้างแต่ละประเภท
คาน
คาน คือ หนึ่งในส่วนประกอบสำคัญของโครงสร้างบ้าน มีหน้าที่ในการรองรับน้ำหนัก และถ่ายเทน้ำหนักลงสู่เสา เพื่อเป็นตัวช่วยเสริมความมั่นคงแข็งแรงให้กับโครงสร้าง หากแบ่งประเภทของคานตามวัสดุที่นิยมใช้ในการสร้างคาน จะคล้ายกับวัสดุที่นำมาทำเป็นเสา มี 3 ประเภท ดังนี้
1. คานไม้ คือ วัสดุดั่งเดิมที่นิยมใช้มาตั้งแต่อดีต เพราะในสมัยก่อนไม้เป็นวัสดุที่หาง่ายที่สุด โดยการทำคานไม้จะนิยมใช้ไม้เนื้อแข็งเพราะมีขนาดใหญ่ เช่น ไม้เต็ง ไม้แดง และไม้รัง เป็นต้น มาพร้อมคุณสมบัติในการรับน้ำหนักได้ดี และมีความแข็งแรง ทนทาน นอกจากนี้ยังมีสีสัน และลวดลายที่สวยงามดูเป็นธรรมชาติ
2. คานเหล็ก เป็นวัสดุที่ทำจากเหล็กรูปพรรณพร้อมใช้งาน เมื่อมาถึงหน้างานก็สามารถนำมาเชื่อมประกอบกันได้ทันที คานเหล็กนิยมนำมาใช้กับโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่าอาคารขนาดเล็ก เนื่องจากต้องอาศัยช่างก่อสร้างที่มีความชำนาญสูง
ข้อเสียของคานเหล็กสามารถเกิดสนิม และถูกกัดกร่อนได้ง่าย จึงจำเป็นต้องทาสีกันสนิม หรือหุ้มวัสดุกันไฟก่อนใช้งาน ดังนั้นข้อจำกัดเหล่านี้อาจทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในภายหลัง
3. คานคอนกรีตเสริมเหล็ก คือ คานที่สร้างด้วยคอนกรีตเสริม และความแข็งแกร่งด้วยเหล็กเส้น เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการรับแรงดึง รองรับน้ำหนักได้ดี ที่สำคัญมีราคาไม่สูง จึงทำให้คานประเภทนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน
แต่คานคอนกรีตเสริมเหล็กก็มีจุดอ่อนเช่นเดียวกัน ผู้รับเหมาจำเป็นต้องใส่ใจขั้นตอนการเทปูนอย่างละเอียด เพราะอาจจะเกิดการแตกร้าวได้ง่าย
พื้น
พื้น คือ โครงสร้างพื้นฐานตามแนวราบของอาคาร มีหน้าที่รับน้ำหนักโดยตรง แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่คานหรือเสา ซึ่งโครงสร้างของพื้นแต่ละชนิดก็จะแตกต่างกันออกไป ตามลักษณะของดินในพื้นที่ และนอกจากนี้ยังมีในเรื่องของระบบการกระจายน้ำหนัก สำหรับความแตกต่างด้านการใช้งานของอาคารนั้นๆ
โดยพื้นแต่ละแบบสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ พื้นไม้ พื้นเหล็ก และ พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. พื้นไม้ ประกอบไปด้วยโครงสร้าง 2 ส่วน คือ ไม้แผ่น และ ไม้กระดาน มีความหนาไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว หน้ากว้าง 4, 6, 8 และ 10 นิ้ว และตงไม้ ขนาด 1 ½ * 6 นิ้ว, 2*6 นิ้ว,11/2*8 นิ้ว และ2*8 นิ้ว วางห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักโดยตรง แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่คาน
การทำพื้นไม้จะเป็นโครงสร้างของพื้นแบบง่ายๆ โดยใช้คานไม้ปูด้วยไม้แผ่นเรียงกันด้วยวิธีเข้าลิ้นและตอกตะปูยึดไว้ ไม้ที่ใช้จะเป็นประเภทไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้สัก ไม้เต็ง หรือไม้แดง เป็นต้น คุณสมบัติของโครงสร้างไม้ชนิดนี้ก็คือ มีขั้นตอนการทำง่าย สะดวก และช่วยประหยัดเวลาในการทำได้ดี
แต่ข้อเสีย คือ ไม่สามารถรับน้ำหนักเยอะได้ หากนำมาทำเป็นบันไดอาจเกิดเสียงดังได้เวลาไม้หดตัว และเนื่องจากไม้ในปัจจุบันหายาก จึงทำให้มีราคาสูง แต่ถึงอย่างไรการนำไม้มาทำพื้นบันไดยังคงเป็นที่นิยม เนื่องจากมีลวดลายที่สวยงาม ดูเป็นธรรมชาติ และไม่จำเป็นต้องใช้จำนวนเยอะก็สามารถทำได้
2. พื้นเหล็ก คือ พื้นที่มีโครงสร้างเป็นเหล็ก ประกอบไปด้วยวัสดุแผ่นเหล็กขนาดมาตรฐาน วางบนตงเหล็ก ในปัจจุบันนิยมทำเป็นพื้นโปร่งมีลักษณะเป็นเหล็กแผ่นเจาะรู หรือ ลายนูนเพื่อกันลื่น เหมาะสำหรับนำมาทำพื้นทางเดินในโรงงาน พื้นสะพานลอย และอาคารโครงเหล็กชั่วคราว
แต่ไม่นิยมนำพื้นเหล็กมาทำเป็นพื้นที่พักอาศัย และอาคารทั่วไป เนื่องจากขาดความสวยงาม ไม่เรียบร้อย และเสียงดังขณะเดิน แต่สามารถนำวัสดุอื่นมาปิดทับบนแผ่นเหล็ก แล้วทำเป็นพื้นหน้าตัดผสมได้
3. พื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นประเภทนี้มีโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมด้วยเหล็กทั้งระบบ ในปัจจุบันพื้นประเภทนี้เป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากมีความแข็งแรงทนทานกว่าพื้นทุกประเภท ราคาไม่สูง และมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ นอกจากนี้พื้นคอนกรีตเสริมเหล็กยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ตามลักษณะการผลิตและการใช้งาน ดังนี้
- พื้นคอนกรีตชนิดหล่อกับที่ เป็นรูปแบบการหล่อดั่งเดิมที่ใช้ตั้งแต่ในอดีต แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้ในการสร้างบ้านเรือน เนื่องจากมีวิธีการที่ซับซ้อน แต่ยังคงนำมาในงานบางลักษณะ เช่น การทำพื้นชั้นล่างที่ไม่ได้อยู่บนคาน การทำพื้นห้องน้ำเพื่อเจาะรูเพื่อเดินท่อต่างๆ
- พื้นสำเร็จรูปแบบแผ่นท้องเรียบ โครงสร้างของพื้นชนิดนี้ประกอบด้วยพื้นคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูปแบบแผ่นท้องเรียบ นำมาวางเรียงกันเป็นพื้นห้องแล้วทาทับด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กอีกชั้นหนึ่ง
นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในการปลูกสร้างบ้านเรือน และอาคารทั่วไป เพราะช่วยประหยัดเวลา มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก และสามารถรองรับน้ำหนักได้ดี
- พื้นสำเร็จรูปแบบกลวง พื้นชนิดนี้มีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างออกไป จากพื้นสำเร็จรูปแบบแผ่นท้องเรียบ เพราะพื้นชนิดนี้มีช่วงความยาวที่มากกว่า และอาจมีช่วงพาดที่ยาวถึง 12 เมตร โดยไม่เกิดการแอ่นตัวของพื้น สามารถรับน้ำหนักได้ดี และมีขนาดให้เลือกหลากหลาย
นิยมนำพื้นชนิดนี้มาใช้กับอาคารสำนักงาน อาคารขนาดใหญ่ หรืออาคารจอดรถมากกว่าการใช้งานกับบ้านเรือนทั่วไป และเนื่องจากพื้นสำเร็จรูปชนิดนี้เป็นแบบกลวง จึงมีช่องภายในที่สามารถใช้ประโยชน์ในการเดินสายไฟหรือท่อน้ำได้อีกด้วย
พื้นคอนกรีตยังมีการนำเอาพื้นไม้เทียม หรือ กระเบื้องมาใช้ตกแต่ง เพื่อให้เกิดความสวยงาม โดยทั่วไปจะติดตั้งเข้ากับตงเหล็ก แล้วใช้สกรูยึดเข้ากับตัวล็อคสำเร็จรูป หากติดตั้งบนพื้นคอนกรีตสามารถใช้ปูนกาวคล้ายกับการปูกระเบื้อง แล้วใช้สกรูกับพุกพลาสติกช่วยยึดเพื่อความแน่นหนา จากนั้นก็สามารถตกแต่งพื้นของคุณ ด้วยการปูปาร์เก้ไม้เทียมลงบนพื้นคอนกรีตได้ทันที
โครงหลังคาของ โครงสร้างบ้าน มีอะไรบ้าง
โครงหลังคา ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญที่กำหนดรูปทรงทั้งหมดของโครงสร้างอาคาร ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักของวัสดุมุงหลังคา เช่น กระเบื้องมุงหลังคา ให้อยู่ในลักษณะที่มั่นคงและเป็นระเบียบ ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ยึดหลังคาบ้านทั้งหมดให้เชื่อมต่อกับโครงสร้างของเสาและคานอย่างแข็งแรง
โดยโครงหลังคาที่ดีนอกจากมีการยึดเกาะอย่างแข็งแรงแล้ว ยังต้องคงทนต่อสภาพอากาศได้ดีอีกด้วย นอกจากนี้การทำโครงหลังคาต้องทำอย่างประณีต และออกแบบขนาดและระยะต่างๆ อย่างถูกต้อง เพื่อให้แนวหลังคาอยู่ในลักษณะเข้าที่เรียบร้อย โดยโครงหลังคาสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามวัสดุที่บ้านเรือนทั่วไปนิยมใช้ ดังนี้
1. โครงหลังคาไม้ ปัจจุบันอาคารและบ้านเรือนส่วนใหญ่นิยมสร้างเป็นตึกสูง เนื่องจากไม้เป็นวัสดุที่หายาก และมีราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะไม้ที่มีคุณภาพดีและมีความแข็งแรงคงทน
ทั้งนี้สิ่งที่ทำให้โครงหลังคาไม้ไม่เป็นที่นิยมอีกอย่างคือ สามารถทำให้เกิดปัญหาเรื่องปลวก ถ้าไม่ดูแลอาจเกิดการทรุดโทรมได้ในภายหลัง ดังนั้นโครงหลังคาไม้จึงไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบันสำหรับอาคารและบ้านเรือนทั่วไป แต่ยังคงมีการใช้งานอยู่สำหรับบ้านไม้
2. โครงหลังคาเหล็ก เรียกได้ว่าเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นวัสดุที่หาง่ายในท้องตลาด ผู้ใช้งานสามารถเลือกขนาด และรูปแบบได้หลากหลายตามความต้องการ นอกจากนี้เหล็กยังเป็นวัสดุที่ให้ความแข็งแรงและมีความคงรูป ทำให้หมดปัญหาเรื่องปลวกไปได้เลย
โดยปกติแล้วเหล็กสามารถถูกกัดกร่อนหรือเกิดสนิมได้ แต่ถ้าเป็นเหล็กที่ผ่านกรรมวิธีป้องกันสนิม อย่างการชุบสังกะสี หรือการเคลือบสีที่ได้มาตรฐานจะไม่ทำให้เกิดสนิม และช่วยยืดอายุการใช้งานได้ในระยะยาว
เมื่อทำความรู้จักโครงสร้างหลังคากันไปแล้ว จะมาพูดถึงส่วนประกอบพื้นฐานของโครงสร้างหลังคาทั้ง 2 ชนิดหลักๆ มีดังนี้
- ระแนง หรือ แป ไม้สี่เหลี่ยมจตุรัสที่วางอยู่บนจันทัน ทำหน้าที่รองรับน้ำหนักหลังคาประเภทต่างๆ โดยวางห่างกันตามขนาดของกระเบื้อง แล้ววางขนานกับแนวอกไก่
- จันทัน เป็นส่วนที่วางเอียงลาดไปตามลักษณะของหลังคา และเป็นโครงสร้างที่รองรับน้ำหนักจากแป โดยจันทันจะวางพาดระหว่างอเส และ อกไก่ เพื่อรองรับแปสำหรับรับกระเบื้องมุงหลังคา โดยทั่วไปจันทันจะวางเป็นระยะทุกๆ 1 เมตร ส่วนระยะห่างจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัสดุมุงหลังคา และระยะแป
- อกไก่ เปรียบเหมือนคานอยู่บริเวณส่วนกลางของหลังคา (ทรงจั่ว หรือ ทรงปั้นหยา) วางพาดอยู่บนดั้งบริเวณสันหลังคา ทำหน้าที่แบกรับน้ำหนักจันทันตามแนวสันหลังคา และแบกรับน้ำหนักจากจันทันทุกตัวทั้ง 2 ด้าน
- ดั้ง โดยปกติอกไก่จะวางอยู่บนเสาของอาคาร หรือ แต่ถ้าตำแหน่งของอกไก่วางไม่ตรงกับเสาของอาคาร ก็ต้องมีเสาเสริมขึ้นมารองรับที่เรียกว่า “ดั้ง”ส่วนที่อยู่บริเวณแนวสันหลังคาในแนวตั้ง เพื่อคอยทำหน้าที่รองรับอกไก่ทดแทนเสาจริงของอาคาร
- ขื่อ หรือที่เรียกว่า สะพานรับดั้ง เป็นส่วนของโครงสร้างที่วางอยู่บนหัวเสาในทิศทางเดียวกับจันทัน ทำหน้าที่รับแรงดึงและยึดหัวเสาในแนวคาน แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาและช่วยยึดโครงผนัง
หากอกไก่ไม่ได้วางอยู่ในตำแหน่งที่มีเสามารองรับ ต้องอาศัยดั้งเข้ามาแบกรับเพื่อถ่ายน้ำหนักต่อไปยังขื่อ ซึ่งขื่อก็จะทำหน้าที่ถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาอาคารต่อไป
- อเส คือ ส่วนของหลังคาที่พาดอยู่บนหัวเสา มีลักษณะคล้ายคาน ทำหน้าที่ยึดปลายเสาตอนบนรวมทั้งช่วยรับแรงจากโครงหลังคาที่ถ่ายลงสู่เสา หรือเปรียบเสมือนคานที่รัดรอบตัวอาคาร และแบกรับน้ำหนักของจันทันแต่ละตัว
โดยทั่วไปอเสมักจะวางอยู่บริเวณริมด้านนอกของเสา ส่วนขนาดของอเสมักจะคำนวณตามความยาวของเสา และพื้นที่หลังคาที่รับน้ำหนัก
- เชิงชาย หรือทับเชิงชาย หรือทับปั้นลม หรือปิดกันนก และปั้นลม ไม้เชิงชาย เป็นไม้ที่ใช้ปิดปลายชายคาของจันทันทุกตัวที่ลาดเอียงตามแนวชายคา เพื่อความสวยงาม รวมทั้งปกป้องการผุเปื่อยของไม้ที่ปลายจันทันจากแสงแดด หรือฝน และป้องกันนกไม่ให้เข้ามาอยู่อาศัยใต้หลังคา
วัสดุก่อสร้างสำหรับ โครงสร้างบ้าน มีอะไรบ้าง?
สำหรับ โครงสร้างบ้าน ถ้าหากเปรียบเทียบบ้านเป็นร่างกาย โครงกระดูกคือ เสาและคาน ซึ่งหมายถึงความมั่นคงที่เป็นตัวยึดส่วนต่างๆ ของบ้านเอาไว้ด้วยกัน ดังนั้นการเลือกวัสดุใช้โครงสร้างบ้านเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ และต้องใส่ใจในรายละเอียดเป็นพิเศษ
เพื่อให้บ้านของคุณมีความแข็งแรง และปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัยมากที่สุด และในหัวข้อนี้ ทาง V.K.B จะมาอธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างแต่ละชนิด ซึ่งจะมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้างไปดูกัน!
- โครงสร้างปูน บ้านโครงสร้างปูน หรือเรียกอีกอย่างว่าบ้านโครงสร้างคอนกรีตเสริมด้วยเหล็ก ถือเป็นโครงสร้างยอดนิยมที่คนเลือกใช้มากที่สุด เพราะโครงสร้างชนิดนี้มีความคงทนต่อสภาพอากาศ และสามารถนำไปหล่อขึ้นรูปได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งในคอนกรีตมีส่วนผสมหลัก คือ ปูนซีเมนต์ หิน กรวดหรือทราย และน้ำ
ทำให้มีคุณสมบัติเรื่องของการรับแรงดึงได้ดี ส่วนข้อเสีย คือ ต้องใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างนานเพราะต้องรอให้คอนกรีตเซ็ทตัว ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีการพัฒนาคอนกรีตสำเร็จรูปขึ้นมา และการผลิตที่ได้มาตรฐานมากขึ้น แต่ก็ยังคงต้องอาศัยความละเอียด และความรอบคอบในขั้นตอนสำคัญเช่นเดิม เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดตามมา
- โครงสร้างไม้ โครงสร้างชนิดนี้ถือเป็นโครงสร้างบ้านหลักๆ ของประเทศไทยในสมัยก่อน เนื่องจากการหาไม้ที่คุณภาพดีและมีขนาดใหญ่สามารถหาได้ง่าย แต่ในปัจจุบันการหาไม้ตามคุณลักษณะที่ได้กล่าวมานั้นลดน้อยลง บวกกับราคาที่ค่อนข้างสูงขึ้นจึงทำให้ไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน
โครงสร้างไม้มีคุณสมบัติโดดเด่นในเรื่องความแข็งแรงทนทานต่อภัยพิบัติธรรมชาติ หากเกิดเหตุแผ่นดินไหวจะได้รับความเสียหายน้อยกว่าโครงสร้างชนิดอื่นๆ และโครงสร้างไม้สามารถถ่ายเทความร้อนได้ดี
แต่ถึงแม้ว่าโครงสร้างไม้จะระบายอากาศได้ดี แต่ไม่สามารถกักเก็บอุณหภูมิได้ ถ้าหากอากาศร้อนจัดบ้านไม้จะร้อน แต่ถ้าอากาศหนาวบ้านไม้จะเย็นกว่าบ้านที่ทำจากโครงสร้างปูน
- โครงสร้างเหล็ก โครงสร้างชนิดนี้เป็นเหล็กรูปพรรณ ในสมัยก่อนมีราคาสูงเพราะต้องนำเข้าจากต่างประเทศเท่านั้น แต่ในปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตเหล็กรูปพรรณได้เอง
ซึ่งจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันโครงสร้างเหล็กมีความนิยมอย่างมาก เนื่องจากเหล็กรูปพรรณสามารถสั่งผลิตเตรียมชิ้นส่วนจากโรงงานได้ทันที เมื่อมาถึงหน้างานเพียงแค่เชื่อมประกอบเท่านั้น ส่งผลให้ช่วยลดต้นทุนเรื่องเวลาและลดค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ ได้
ถึงแม้ว่าขั้นตอนการประกอบจะดูง่าย แต่มีมาตรการติดตั้งที่ซับซ้อน และต้องมีค่าบำรุงรักษาในระยะยาว ถ้าหากพูดถึงเรื่องการออกแบบ โครงสร้างเหล็กจะมีขนาดเล็กและบางกว่าโครงสร้างคอนกรีตเสริมด้วยเหล็ก ทำให้มีน้ำหนักเบาและมีระบบของรากฐานที่เล็กกว่า จึงไม่นิยมนำมาใช้เป็นโครงสร้างบ้าน แต่จะนิยมนำมาใช้เป็นโครงสร้างอาคารขนาดใหญ่
ใช้บริการรับเหมาก่อสร้าง ดีกว่าอย่างไร?
ข้อดีของการเลือกบริษัทรับเหมาก่อสร้าง คือ ทางบริษัทจะให้บริการตั้งแต่การให้คำปรึกษา ดูแล และดำเนินการทุกขั้นตอนจนจบงาน เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจเลยทีเดียว เพราะทุกๆ ขั้นตอนจะต้องผ่านการตรวจเช็กสภาพพื้นที่ในการก่อสร้างผ่านวิศวกร และช่างที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการก่อสร้าง
การเลือกบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ดีจะช่วยประหยัดเวลา ที่สำคัญมั่นใจได้เลยว่าปลอดภัยมากกว่าการสร้างบ้านด้วยตัวเอง และทุกการออกแบบจะผ่านการตรวจสอบจากสถาปนิกที่มีประสบการณ์ ดังนั้นมั่นใจเรื่องความปลอดภัยได้แน่นอน
เพราะฉะนั้นหากต้องการสร้างบ้านแนะนำให้เลือกบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่มีคุณภาพ เพื่อให้งานก่อสร้างของคุณออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ และ คุ้มค่ามากที่สุด
อยากได้งานก่อสร้างคุณภาพดี ต้องที่นี่ V.K.B
ถ้าหากใครกำลังมองหาผู้ให้บริการรับเหมาก่อสร้างมืออาชีพ เต็มที่กับงานทุกรูปแบบ ให้ V.K.B contracting เป็นคำตอบ เพราะเราคือ บริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ให้บริการมายาวนานกว่า 30 ปี ด้วยทีมผู้เชี่ยวชาญ และ มีประสบการณ์ พร้อมให้บริการอย่างครบวงจร ตั้งแต่การก่อสร้าง ออกแบบ และให้คำปรึกษาด้านการบริหารโครงการ ดูแลตั้งแต่เริ่มต้นจนจบงาน รับรองได้เลยว่าคุณจะได้งานที่ตอบโจทย์ตามความต้องการ และ มีคุณภาพ
- งานก่อสร้าง สามารถไว้ใจได้ด้วยทีมงาน บุคลากร และ Outsource ที่มีคุณภาพ พร้อมให้บริการคุณได้อย่างเต็มที่
- งานออกแบบ มีผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ รวมทั้งนักออกแบบรุ่นใหม่ ที่จะช่วยให้การออกแบบได้ตอบโจทย์ตามสไตล์ที่ทันสมัยของคุณ
- ให้คำปรึกษา และบริหารโครงการ นอกจากการก่อสร้างแล้ว เรายังให้คำแนะนำ ปรึกษา และช่วยเหลือปัญหาที่เกิดจากการก่อสร้างทุกรูปแบบได้อีกด้วย
สามารถสอบถาม V.K.B และ ดูข้อมูลเพิ่มเติมช่องทางอื่นๆ
Facebook : VKB Contracting
Line : @vkbth
Tel : 081-735-6625 , 097-445-4146 , 02-377-6591 , 02-735-1636 , 02-735-1637
Email : vkb.cont@gmail.com