การ ถมที่ดิน หรือ ปรับหน้าดินให้พร้อมก่อนการสร้าง สิ่งปลูกสร้าง นั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะถ้าหากต้องการถมที่ดิน เราต้องดูหลายปัจจัยควบคู่กันไป ทั้งในเรื่องระดับความสูงของหน้าดิน การทรุดตัวของดิน รวมถึงการระบายน้ำภายในพื้นที่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาระยะยาวในภายหลัง
ดังนั้นต้องเตรียมการตั้งแต่ขั้นตอนการถมดิน และการวางเสาเข็มก่อนสร้างบ้านอย่างครอบคลุม แต่ก่อนอื่นเราไปทำความรู้จักกันก่อนว่าทำไมผู้ รับเหมาก่อสร้าง ถึงต้องถมที่ดินก่อนสร้างสิ่งปลูกสร้าง? มาร่วมไขข้อสงสัยไปพร้อมๆ กันได้ในบทความนี้
ทำไมต้อง ถมที่ดิน ก่อนสร้างสิ่งปลูกสร้าง?
ก่อนที่เราจะเริ่มต้นสร้างบ้าน สร้างอาคาร หรือ สร้างโรงงาน รวมถึงสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ สักหลัง สิ่งหนึ่งที่ต้องเตรียมก่อนอย่างแรก คือ การเตรียมที่ดินให้พร้อม เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่อพื้นที่ตัวอาคาร อย่างเช่น ปัญหาดินทรุดจนเป็นโพรง ปัญหาเหล่านี้สามารถป้องกันได้เมื่อมีการเตรียมพื้นที่ให้พร้อมก่อนเริ่ม ก่อสร้างบ้าน โดยประเภทของการถมดิน สามารถแบ่งออกได้ 2 ส่วนหลักๆ ดังนี้
1. การถมที่ดิน ก่อนสร้างสิ่งปลูกสร้าง
เหตุผลที่ต้อง ถมที่ดิน เนื่องจากเป็นการยกระดับความสูงของพื้นที่ เพื่อป้องกันน้ำท่วม หรือวางท่อระบายน้ำภายในบ้านให้อยู่สูงกว่าถนน ทั้งนี้สิ่งที่เจ้าของบ้านควรให้ความสำคัญ คือ การปรับระดับพื้นที่ โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ คือ
- ลักษณะพื้นที่ที่จะถมดินเป็นอย่างไร
เบื้องต้นผู้รับเหมาควรตรวจสอบลักษณะของพื้นที่ เพื่อให้รู้ว่าจะต้องมีการถมดินสูงแค่ไหน ควรสอบถามผู้ที่พักอาศัยบริเวณนั้น ว่ามีปัญหาเรื่องน้ำท่วมขังตลอดหรือไม่ เพราะถ้าหากเกิดปัญหาเหล่านี้จะส่งผลให้ดินเกิดความอ่อนตัวสูง และแปรสภาพเป็นดินโคลน หากเป็นเช่นนั้นจะทำให้มีต้นทุนค่าถมที่ดินสูงขึ้น จะต้องถมแล้วอัดดินให้แน่นมากกว่าปกติ ซึ่งการบดอัดดินจะช่วยลดการทรุดตัวของดินได้
นอกจากนี้มีอีกหนึ่งวิธีการสังเกตพื้นที่ง่ายๆ คือ สังเกตต้นไม้ที่ขึ้นบริเวณแปลงที่ดินนั้น หากมีต้นกก ต้นธูปฤๅษี หรือ ต้นอ้อแล้วล่ะก็ แสดงว่าพื้นที่บริเวณนั้นมีความชื้นสูง ทำให้ดินบริเวณนั้นมีความอ่อนตัว แต่ถ้าหากมีต้นกระถิน หรือมะขามเทศ แสดงว่าดินบริเวณนั้นมีความแห้ง
- ระดับความสูงของพื้นที่ที่จะถมดิน
ก่อนเริ่มต้นถมดิน ต้องมีการกำหนดระยะความสูงที่ต้องการจะถม ซึ่งควรพิจารณาจากสภาพแวดล้อมรวมถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ระดับของพื้นถนน ระดับของพื้นที่น้ำสามารถท่วมถึง (สังเกตรอยตะใคร่ และ เชื้อราตามแนวกำแพง)
เปรียบเทียบความสูงของบ้านหลังอื่นๆ รวมถึงที่ดินแปลงเปล่าบริเวณรอบๆ ควรนึกถึงอนาคตด้วยว่า ถ้าหากมีสิ่งก่อสร้างอื่นเพิ่มขึ้นมา พื้นที่บริเวณรอบๆ จะต้องถูกถมให้สูงขึ้นด้วย ดังนั้นหากประเมินสภาพแวดล้อมก่อน จะช่วยให้เรารู้ว่าควรถมดินสูงแค่ไหน เช่น หากมีการขยายทำถนนใหม่ ที่มีระดับสูงขึ้นกว่าของเก่า เราก็ควรนำเอาระดับของถนนใหม่มาใช้ เพื่อประเมินระดับพื้นที่ภายในบ้านของเราให้สูงขึ้น
ความสูงของการปรับหน้าดินโดยทั่วไปแล้ว จะถมสูงกว่าถนน 50 – 80 เซนติเมตร แต่สำหรับบางพื้นที่อาจจะต้องถมดินให้สูงถึง 1 เมตร เผื่อไว้สำหรับการยุบตัวของดินในอนาคต
- ระยะเวลาในการทิ้งพื้นที่หลังถมดิน
หลังจากที่ถมที่ดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ควรดำเนินการสร้างบ้านทันที แต่ควรทิ้งให้ระยะเวลาผ่านไปสักพัก เพื่อให้หน้าดินมีการเซตตัว และป้องกันไม่ให้เกิดการทรุดเพิ่มขึ้นในระยะยาว
เมื่อถมที่ดินเสร็จ ควรทิ้งระยะเวลาไว้ 6 – 12 เดือน โดยปกติเราจะใช้รถบดอัดดิน ซึ่งจะสามารถช่วยย่นระยะเวลาลงได้ หรือถ้าทำทั้งสองอย่าง คือ ทิ้งระยะเวลารอดินเซตตัว และใช้รถบดอัดดินด้วย ก็จะยิ่งช่วยให้หน้าดินมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
ข้อควรระวังในการถมที่ดิน
สำหรับบ้านที่สร้างจากพื้นที่เดิม อาจทำโดยการทุบหลังเก่าแล้วสร้างหลังใหม่ทับพื้นที่นั้น เมื่อเกิดการทับถมเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเศษอิฐ หรือเศษคอนกรีต ที่เกิดจากการทุบหลังเก่าเพื่อนำมาถมที่ ซึ่งในกรณีนี้จะทำให้เกิดปัญหาการทรุดตัวของดินมากกว่าปกติ เพราะเศษวัสดุเหล่านั้นไม่สามารถผสมเป็นเนื้อเดียวกันกับดินได้ อาจทำให้เกิดช่องว่างระหว่างดินและเศษวัสดุ เมื่อเวลาผ่านไปหากมีน้ำซึมผ่าน จะทำให้เกิดเป็นหลุมหรือโพรงใต้บ้านได้
2. การวางฐานโครงสร้างตั้งแต่เริ่มต้น
วิธีป้องกันการทรุดตัวของดิน คือ การมีเสาเข็มรองรับน้ำหนัก โดยทั่วไปแล้วโครงสร้างบ้านจะถูกกำหนดให้มีเสาเข็มลึกลงไปถึงชั้นทรายประมาณ 18 – 21 เมตร (เป็นความลึกของพื้นที่ กทมฯ) ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์หาค่าสมบัติทางวิศวกรรมของชั้นดินจากนักวิศวกร ซึ่งค่าประมาณการนี้ จะถูกนำมาคำนวณความสามารถในการรับน้ำหนักของชั้นดินได้อย่างถูกต้องตามหลักวิศวกรรม เพื่อรองรับน้ำหนักของตัวบ้าน หรืออาคารนั้นๆ ให้ได้มากที่สุด
ข้อควรระวังในการวางเสาเข็ม
ที่ดินบางแปลงที่เราเลือกก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างนั้น อาจเคยเป็นคลอง บึง หรือ บ่อทิ้งขยะเก่า ดังนั้นการก่อสร้างบ้านบริเวณนี้ ควรมีการเจาะสำรวจชั้นดิน ไม่ควรใช้วิธีเทียบเคียงจากพื้นที่ข้างๆ เพราะความลึกของเสาเข็มอาจไปตรงกับบริเวณของบ่อขยะเก่า ถ้าเป็นเช่นนั้นเมื่อเวลาผ่านไปหากขยะมีการย่อยสลาย จะทำให้เสาเข็มทรุดตัวลงได้
แนะนำข้อควรรู้สำหรับเจ้าบ้านก่อน ถมที่ดิน
ก่อนสร้างบ้านใหม่แต่ละหลัง สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรกคือ การถมที่ดิน เพราะมันคือจุดประสงค์หลักในการป้องกันปัญหาน้ำท่วม และปัญหาดินทรุดตัว ซึ่งวันนี้เราได้รวบรวมข้อควรรู้สำหรับเจ้าบ้านก่อนถมที่ดินมาฝากทุกคนกัน!
1. การคำนวณพื้นที่ และ ราคา
ปกติแล้วราคาสำหรับการถมที่ดิน จะมีราคาไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งจะวัดจากพื้นที่เป็นหลักว่ามีการใช้พื้นที่เท่าไหร่ ใช้ดินประเภทไหน ส่วนการคิดค่าใช้จ่าย ผู้รับเหมาก่อสร้างบางเจ้าจะคิดเป็นคันรถ โดยประเมินจากขนาดของพื้นที่ บางเจ้าจะคิดเป็นคิว (คิว ย่อมาจากคำว่า คิวบิกเมตร cubic meter หรือเรียกว่า ลูกบาศก์เมตร) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นราคาที่คิดรวมเรื่องการอัดบดดินสำหรับการถมที่แล้ว
โดยวิธีการคำนวณราคา จะวัดจากพื้นที่ที่ต้องการถมดิน ปรับหน้าดิน ว่ามีขนาดกี่ตารางเมตร ซึ่งปกติแล้วเราจะรู้ขนาดของพื้นที่เป็นตารางวา แต่สามารถใช้สูตรคำนวณ 1 ตารางวา เท่ากับ 4 ตารางเมตรได้ เช่น ที่ดิน 100 ตารางวา คูณ 4 เท่ากับ 400 ตารางเมตร เมื่อแปลงค่าแล้ว สามารถคิดปริมาณดินที่ใช้ได้ตามสูตรนี้ [ความสูงถมดิน x พื้นที่ถมดิน (กว้าง x ยาว)] x 1.20 (ปริมาณดินที่เผื่อ) = ปริมาณดินที่ใช้
จากนั้นให้คำนวณความสูงของดินที่ต้องการจะถม หากต้องการถมสูง 80 เซนติเมตร บนพื้นที่ 400 ตารางเมตร ก็จะเป็น 0.8 x 400 = 320 คิว ที่สำคัญต้องเผื่อพื้นที่การอัดบดดินเข้าไปอีกประมาณ 20% – 30% จะอยู่ที่ 80 คิว ดังนั้นการคำนวณในลักษณะนี้จะทำให้รู้ได้ถึงปริมาณดินที่ต้องการ แต่ถ้าต้องการคิดเป็นคันรถ ก็ต้องเทียบว่าในหนึ่งคันรถสามารถขนได้กี่คิว ทั้งนี้ปริมาณการขนจะขึ้นอยู่กับขนาดของรถด้วยเช่นกัน
การคำนวณค่าถมที่ดินในเบื้องต้นเป็นราคาที่ไม่ตายตัว จะถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่ได้อ้างอิงในเบื้องต้น ทั้งลักษณะของพื้นที่ ประเภทของดินที่ใช้ ผลกระทบจากสภาพแวดล้อม ซึ่งผู้รับเหมาก่อสร้างต้องประเมินรอบด้านอย่างละเอียด เพราะด้วยองค์ประกอบเหล่านี้จึงทำให้การคิดราคาไม่มีกฎตายตัวนั่นเอง
2. ข้อควรระวังด้าน กฎหมายถมที่ดิน
อีกสิ่งหนึ่งสำคัญสำหรับการถมที่ดิน นั่นก็คือ เรื่องของกฎหมาย โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการถมดิน คือ พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ. 2543 เนื้อหาหลักเกี่ยวกับการถมดิน คือ การถมดินพื้นที่ไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร ไม่จำเป็นต้องขออนุญาต แต่ต้องจัดให้มีการระบายน้ำที่เพียงพอ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับที่ดินข้างเคียง หรือบุคคลอื่น
หากเกิดกรณีที่ถมดินเกินกว่า 2,000 ตารางเมตร หรือ 1 ไร่ 1 งาน ต้องจัดให้มีการระบายน้ำตามที่กล่าวมาในเบื้องต้น และต้องแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่น เมื่อได้รับแจ้งแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบรับแจ้งภายใน 7 วัน เมื่อได้รับใบรับแจ้ง ผู้แจ้งถึงจะสามารถเริ่มถมที่ดินได้ ซึ่งในกฎหมายฉบับนี้ได้ให้อำนาจแก่หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ควบคุมการถมที่ดินด้วย
3. ขั้นตอนการ ถมที่ดิน
การถมที่ดิน คือ ขั้นตอนแรกของการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็น สร้างบ้าน สร้างอาคาร สร้างโรงงาน หรืออื่นๆ ที่ต้องมีการลงโครงสร้าง เพื่อให้พื้นที่มีความสูงอยู่ในระดับมาตรฐานที่ดีพอสำหรับทำขั้นตอนต่อไป โดยในส่วนนี้เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนการถมที่ดินเพื่อให้ผู้ใช้บริการรับเหมาก่อสร้าง เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบที่ใช้มากยิ่งขึ้น โดยมีวัตถุดิบดังนี้
ดินทั่วไป – ดินทั่วไป หรือที่คุ้นชินในชื่อของ ดินดำ ดินถม ดินขุด หรือดินบ่อ จะเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ ซึ่งดินเหล่านี้จะมีราคาไม่สูง นิยมนำมาใช้สำหรับถมที่ดินเพื่อสร้างบ้าน และปรับระดับพื้นที่ ที่สำคัญยังช่วยประหยัดระยะเวลาลงได้ ไม่เหมาะในการนำมาปลูกต้นไม้ เพราะมีความชื้นไม่เพียงพอ
ดินดาน – ดินดาน หรือ ดินซีแลค ลักษณะของดินมีความแห้ง สามารถบดอัดได้เป็นอย่างดี ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้ถมที่ดินริมน้ำ ถมทำถนน สร้างบ้านแบบเร่งด่วน หรือ รองรับสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ได้อย่างแน่นหนา เพราะดินชนิดนี้มีความอัดแน่นสูง ชึ่งราคาจะแตกต่างจากดินทั่วไป เพราะราคาจะคิดตามระยะทางขนส่ง ไม่มีราคาตายตัว
ดินทราย – ดินทราย เป็นดินที่ไม่อุ้มน้ำ มีส่วนประกอบของทรายประมาณ 70% ใช้สำหรับรองพื้นก่อนเทปูนทำสิ่งปลูกสร้าง หากนำมาใช้ต้องบดอัดให้แน่นเป็นพิเศษ เพราะดินทรายเป็นเนื้อดินที่ไม่มีความแน่นหนา ง่ายต่อการถูกกัดกร่อน แต่ข้อดีของการรองพื้นด้วยดินทราย คือ สามารถป้องกันดินไหลไปยังบริเวณข้างเคียงได้ และช่วยไม่ให้สิ่งปลูกสร้างเกิดการทรุดตัว
ดินทรายหยาบ – มีลักษณะเป็นหินแข็ง และเม็ดใหญ่ ใช้ในขั้นตอนปรับสภาพพื้นผิวชั้นบนสุดของสิ่งปลูกสร้าง ดินทรายหยาบเหมาะกับงานก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแรงสูง อย่างเช่น อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โครงสร้างสะพาน หรือ โครงสร้างรากฐานของสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ที่ต้องการความแข็งแรง และแน่นหนา โดยวิธีเลือกใช้จะขึ้นอยู่กับขนาดของทราย เพราะทรายแต่ละชนิดจะมีหน้าที่การใช้งานแตกต่างกันออกไป
ดินลูกรัง – ดินลูกรัง คือ ดินที่พบในชั้นลูกรัง ชั้นกรวด หรือชั้นหินพื้น เนื้อของดินชนิดนี้ มีส่วนผสมของดินทรายปะปนกับดินร่วน ด้วยลักษณะที่เป็นหินมีความแข็ง จึงมีความหนาแน่นสูง สามารถบดอัดได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับทำถนนคอนกรีต สร้างโรงงาน หรือเน้นงานถมสร้างลานจอดรถ ไม่นิยมนำมาสร้างที่พักอาศัย เพราะดินลูกรังกักเก็บความร้อนสูง หากถามในเรื่องของราคาจะแตกต่างกันไปตามพื้นที่
หินคลุก – หินคลุก เป็นประเภทของหินปูนมีขนาดแตกต่างกันไป ทำให้ความสมบูรณ์ของแร่ธาตุไม่มีความสม่ำเสมอ หินคลุกจะมีคุณสมบัติใช้สำหรับเทพื้น ปรับพื้นของถนน รองรับน้ำหนักของสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เมื่อมีการบดอัดหินคลุกให้แน่น พื้นผิวของสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ จะแข็งแรง และทนทานกว่าการใช้ดินลูกรัง
เลือกบริษัทรับเหมา ถมที่ดิน ต้อง V.K.B บริการครบ จบ ในที่เดียว!
การเตรียมพื้นที่ให้พร้อมก่อนสร้างบ้านถือเป็นสิ่งสำคัญ หากเจ้าของบ้านมีการเตรียมพร้อมในส่วนของที่ดินตั้งแต่เนิ่นๆ จะทำให้เกิดปัญหาน้อยลง แต่จะดีกว่านั้น ถ้าหากมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา สำหรับใครที่ต้องการใช้บริการรับเหมาก่อสร้าง เลือก V.K.B บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ที่ให้บริการทั้งงานออกแบบ และก่อสร้าง
รวมถึงให้คำแนะนำเรื่อง บริหารโครงการ เปิดให้บริการมายาวนานกว่า 30 ปี ด้วยทีมที่เชี่ยวชาญ และ มีประสบการณ์ ทำให้คุณหมดกังวลในเรื่องต่างๆ ได้ เพราะ V.K.B ดูแลตั้งแต่การวางแผน ออกแบบ และให้คำปรึกษาตลอดจนจบงาน ทำให้คุณมั่นใจได้เลยว่างานที่ออกมาจะเป็นไปอย่างที่คุณต้องการ และ มีคุณภาพ
- งานก่อสร้าง รับเหมาก่อสร้างด้วยทีมงาน บุคลากร และ Outsourch คุณภาพที่พร้อมบริการอย่างเต็มที่
- งานออกแบบ มีผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ รวมทั้งนักออกแบบรุ่นใหม่ ที่พร้อมออกแบบเพื่อให้ตอบโจทย์ตามสไตล์ของคุณ
- ให้คำปรึกษา และ บริหารโครงการ นอกจากการก่อสร้างแล้ว เรายังให้คำแนะนำ ปรึกษา และ ช่วยเหลือปัญหาที่เกิดจากการก่อสร้างทุกรูปแบบ
สามารถสอบถาม V.K.B และ ดูข้อมูลเพิ่มเติมช่องทางอื่นๆ
Facebook : VKB Contracting
Line : @vkbth
Tel : 081-735-6625 , 097-445-4146 , 02-377-6591 , 02-735-1636 , 02-735-1637
Email : vkb.cont@gmail.com