สร้างโรงงาน จำเป็นต้องรู้อะไรบ้าง 5 สิ่งที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจสร้างโรงงาน!

หลังจากที่กิจการของเราเริ่มเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ การคำนึงถึงคุณภาพของสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น ก็เป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกๆ ที่เหล่าผู้ประกอบการควรนึกถึง ซึ่งการควบคุมคุณภาพตั้งแต่ต้นทางการผลิต นับว่าเป็นสิ่งจำเป็น การ สร้างโรงงาน เป็นของตัวเอง จึงเป็นทางเลือกที่ดี ที่เราจะสามารถควบคุมกระบวนการผลิต รวมถึงมีพื้นที่ในการปฏิบัติงานขั้นอื่นๆ ต่อไป

โดยก่อนเราจะ สร้างโรงงานได้นั้น วันนี้ VKB จะพามารู้จัก 5 สิ่งต้องรู้ก่อนตัดสินใจ เพื่อการเตรียมตัวที่ดี และป้องกันการเกิดปัญหา และผลเสียที่อาจตามมาในอนาคต

 

1) โรงงานสำเร็จรูป VS สร้างโรงงาน แบบไหนคุ้มกว่ากัน?

สร้างโรงงาน

ในปัจจุบันการสร้างโรงงานสำเร็จรูปเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ประกอบการ ที่สะดวก และรวดเร็วกว่าการก่อสร้างแบบขึ้นโครงสร้างในรูปแบบปกติ แต่ทั้งสองรูปแบบก็มีข้อดี และข้อเสียแตกต่างกันดังนี้

โรงงานสำเร็จรูป

  • ข้อดี ใช้งบประมาณน้อยกว่า และใช้เวลาในการก่อสร้างรวดเร็ว
  • ข้อเสีย การออกแบบพื้นที่หรือรูปแบบอาคาร จะมีข้อจำกัดในบางส่วน เนื่องจากการออกแบบจะสเปคไว้แล้วเบื้องต้น

สร้างโรงงาน

  • ข้อดี สามารถออกแบบโรงงานได้ตามต้องการ มีขั้นตอนการก่อสร้างที่ละเอียด ผู้ประกอบการสามารถเลือกรายละเอียด แต่ละส่วนด้วยตัวเองได้ทั้งหมด
  • ข้อเสีย เนื่องจากขั้นตอนการก่อสร้างมีมากกว่าแบบสำเร็จรูปทำให้ใช้เวลานานกว่า รวมถึงงบประมาณที่อาจมากกว่าตามสเปค และคุณภาพวัสดุ

ดังนั้นผู้ประกอบการควรศึกษาการก่อสร้างโรงงาน แต่ละรูปแบบให้ดีก่อนการตัดสินใจ ว่าโรงงานประเภทไหนจะเหมาะกับกิจการของคุณมากที่สุด

 

2) ระเบียบข้อบังคับ และกฎหมายควบคุมการก่อสร้างโรงงานที่ต้องรู้

สร้างโรงงาน

หลังจากเลือกประเภทโรงงานที่อยากสร้างได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการศึกษากฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ เพื่อให้โรงงานถูกต้องตาม พ.ร.บ โรงงาน ซึ่งมีขึ้นเพื่อทำการควบคุมดูแลกิจกรรมภายในโรงงานไม่ให้เกิดผลเสียต่อสังคม และ สิ่งแวดล้อม โดยตามหลักกฎหมายแล้วจะแบ่งประเภทโรงงานออกเป็น 3 ประเภทคือ

  • โรงงานประเภทที่ 1 – โรงงานมีเครื่องจักรไม่เกิน 20 แรงม้า และ มีคนงานไม่เกิน 20 คน
    โรงงานประเภทนี้ไม่จำเป็นจะต้องขอใบอนุญาต สามารถดำเนินกิจการได้ทันทีไม่ต้องขอใบอนุญาต
    (*โรงงานบางประเภทถูกจัดรวมเป็นโรงงานประเภทที่ 3 ถึงแม้จะมีจำนวนไม่เป็นไปตามโรงงานจำพวกที่ 3 ก็ตาม เพราะกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษ)
  • โรงงานประเภทที่ 2 – โรงงานมีเครื่องจักรมากกว่า 50 แรงม้าแต่ไม่เกิน 75 แรงม้า (50-75 แรงม้า) และ มีพนักงานมากกว่า 50 คนแต่ไม่เกิน 75 คน (50-75 คน)
    ไม่ต้องขอใบอนุญาตในการจัดตั้ง แต่จะต้องทำการแจ้งความจำนงในการประกอบกิจการ และ ชำระค่าธรรมเนียมรายปี
    (*โรงงานบางประเภทถูกจัดรวมเป็นโรงงานประเภทที่ 3 ถึงแม้จะมีจำนวนไม่เป็นไปตามโรงงานจำพวกที่ 3 ก็ตาม เพราะกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษ)
  • โรงงานประเภทที่ 3 – โรงงานมีเครื่องจักรมากกว่า 75 แรงม้า และ มีพนักงานในโรงงานมากกว่า 75 คน
    โรงงานประเภทนี้จะต้องทำการขอใบอนุญาตในการจัดตั้งโรงงาน (ใบ ร.ง.4) เนื่องจากถือว่าเป็นโรงงานที่อาจก่อให้เกิดมลภาวะ

หลังจากแยกประเภทของโรงงานของเราได้แล้ว ผู้ประกอบการจำเป็นต้องยื่นขอใบอนุญาตสำหรับกฎหมายโรงงาน และการจัดตั้งโรงงาน โดยจะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบโรงงานของเราว่า มีกระบวนการผลิตที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ หากผ่านทั้งหมดแล้วก็ถือว่าโรงงานของเรา ได้รับจัดตั้งอย่างถูกต้องเรียบร้อย ตามมาตรฐาน และข้อบังคับต่างๆนั่นเอง

 

3) BOQ คืออะไร มีผลอย่างไรกับการตัดสินใจก่อ สร้างโรงงาน?

รับสร้างโรงงาน

BOQ (Bill of Quantities) เป็นใบแสดงรายการวัสดุ และค่าใช้จ่าย ซึ่งจะถูกออกให้โดยผู้รับเหมาก่อสร้าง โดยใบนี้จะแสดงเกี่ยวกับรายละเอียดวัสดุ ปริมาณที่ใช้ ราคาของแต่ละรายการ และค่าแรงในการก่อสร้างทั้งโครงการ

ดังนั้นจึงเป็นใบที่มีความสำคัญมากกับผู้ประกอบการที่ต้องการ สร้างโรงงาน มากไปกว่านั้น BOQ สามารถนำไปยื่นเป็นหลักฐานในการกู้สินเชื่อกับธนาคาร หรือนำราคามาเปรียบเทียบกับราคาในท้องตลาด และสุดท้ายสามารถใช้เป็นใบตรวจสอบงาน และคุณภาพของวัสดุ ว่าตรงตามที่แจ้งไว้ตั้งแต่แรกหรือไม่

 

4) มอก. คืออะไร  มีความสำคัญอย่างไรกับการก่อสร้างโรงงาน?

ก่อสร้างโรงงาน

หลายคนคงเคยได้ยินมาตรฐาน มอก. กันมาบ้าง สำหรับสินค้า หรือวัสดุต่างๆ ทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ หรือตามวัสดุต่างๆ โดย มอก. นั้นย่อมาจาก มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ผลิต ผลิตสินค้าออกมาได้มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด

สำหรับการก่อสร้างโรงงาน จะมีวัสดุบางประเภทที่จัดว่าอยู่ในมาตรฐาน มอก. ได้จัดระดับเครื่องหมายอยู่ที่เป็น เครื่องหมายมาตรฐานบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับ งานโยธา และเป็นสินค้าวัสดุก่อสร้าง โดยมีเลขมาตรฐานวัสดุ ยกตัวอย่างเช่น

  • มอก. 15 เล่ม 1-2555 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์
  • มอก. 20-2559 เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กเส้นกลม
  • มอก. 24-2559 เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กข้ออ้อย
  • มอก. 95-2540 ลวดเหล็กกล้า สำหรับคอนกรีตอัดแรง (PC Wire)
  • มอก. 348-2540 เหล็กลวดคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Wire Rod)
  • มอก. 880-2547 กระจกโฟลตใส
  • มอก. 2508-2555 กระเบื้องเซรามิก
  • มอก. 1222-2560 กระจกนิรภัยหลายชั้น

 

5) ควรเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างอาคาร ที่มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 20 ปี

ท้ายที่สุด คือการเลือก ผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ ยาวนานในวงการมากกว่า 20 ปี เพราะนอกจากจะมีความชำนาญในการก่อสร้างแล้ว ยังมีประสบการณ์ในการเลือกสรรวัสดุที่เหมาะสม สามารถออกแบบฟังก์ชันต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี แน่นอนว่าความผิดพลาดในการทำงานก็จะน้อยลงตามไปด้วย ทำให้คุณมั่นใจได้ว่า จะได้โรงงานที่มีคุณภาพตามความต้องการ ถูกต้องตามมาตรฐาน และไม่มีปัญหายิบย่อย ตามมาให้ปวดหัวอย่างแน่นอน

 

 

อยาก สร้างโรงงาน ที่ได้มาตรฐาน พร้อมปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เลือก V.K.B

หากคุณกำลังหาผู้ รับเหมาก่อสร้างโรงงาน ที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐาน ขอแนะนำ V.K.B contracting บริษัทรับเหมาก่อสร้างที่มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญ และนักออกแบบรุ่นใหม่ ที่มีความทันสมัย ทางเราพร้อมให้บริการตั้งแต่การก่อสร้าง ออกแบบ ให้คำปรึกษา ในการบริหารโครงการ โดยที่ดูแลคุณตั้งแต่ต้น จนถึงวันที่ส่งมอบงาน ด้วยประสบการณ์ยาวนานกว่า 30 ปี ทำให้คุณมั่นใจได้เลยว่า ทุกบริการจะตอบโจทย์ความต้องการ และมีคุณภาพอย่างแน่นอน!

  • งานก่อสร้าง รับเหมาก่อสร้างด้วยทีมงาน บุคลากร และ Outsource คุณภาพที่พร้อมบริการอย่างเต็มที่
  • งานออกแบบ มีผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ รวมทั้งนักออกแบบรุ่นใหม่ ที่พร้อมออกแบบเพื่อให้ตอบโจทย์ตามสไตล์ของคุณ
  • ให้คำปรึกษา และ บริหารโครงการ นอกจากการก่อสร้างแล้ว เรายังให้คำแนะนำ ปรึกษา และ ช่วยเหลือปัญหาที่เกิดจากการก่อสร้างทุกรูปแบบ

 

 

 

สามารถสอบถาม V.K.B และ ดูข้อมูลเพิ่มเติมช่องทางอื่นๆ

Facebook : VKB Contracting

Line : @vkbth

Tel : 081-735-6625 , 097-445-4146 , 02-377-6591 , 02-735-1636 , 02-735-1637

Email : vkb.cont@gmail.com

ติดต่อเรา