สำหรับผู้ประกอบการที่ตัดสินใจต้องการที่จะเริ่ม สร้างโรงงานขนาดเล็ก เป็นของตนเอง ซึ่งเป็นปัจจัยที่นอกจากจะช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้ดีขึ้นแล้ว ยังช่วยให้มีอิสระในการควบคุมคุณภาพสินค้า การจัดการ และเป็นผลดีกับความลับทางการค้าหลายอย่างอีกด้วย อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการส่วนใหญ่ก็จะให้ความสำคัญกับตัวเครื่องจักร และโรงงาน จนลืมให้ความสำคัญกับข้อกฎหมายเกี่ยวกับพื้นที่ และถนนรอบๆโรงงาน
วันนี้ V.K.B. ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการก่อสร้างโรงงาน ทุกขนาดทุกประเภทมายาวนานมากกว่า 30 ปี จึงได้นำเกร็ดความรู้สำหรับใครที่ต้องการสร้างโรงงาน และการทำถนนรอบๆ ว่าถนนที่ใช้ในโรงงานนั้นมีกี่ประเภท มีความสำคัญอย่างไร ? หากอยากรู้แล้วมาติดตามไปพร้อมๆ กับเราได้เลย !
สร้างโรงงานขนาดเล็ก ข้อควรรู้ก่อนสร้าง ถนนรอบโรงงาน มีความสำคัญอย่างไร ?
การก่อสร้างถนนรอบโรงงาน ไม่ใช่เรื่องที่จะสามารถมองข้ามได้ เนื่องจากมีข้อกฎหมายบังคับในการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็น ประเภทของถนน หรือความกว้างของถนนที่สอดคล้องกับกฎหมายท้องถิ่น ตลอดไปจนถึงขนาดของที่ดิน และตัวอาคาร นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ควรให้ความสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น
- การวางแผนออกแบบให้เหมาะสมกับปริมาณการจราจร และการใช้งานในแต่ละวัน
- การขยับขยาย หรือพื้นที่เผื่อการเติบโตของอาคาร และธุรกิจในอนาคต
- สภาพแวดล้อมของพื้นที่ และข้อจำกัดในการก่อสร้าง
- มาตรฐาน และมาตรการการออกแบบถนนให้ใช้งานได้ยาวนาน และช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ
แน่นอนว่าหากก่อสร้างถนนได้ไม่มีมาตรฐาน หรือไม่ได้ใส่ใจในส่วนการออกแบบเพื่อใช้งาน ก็อาจส่งผลต่อความราบรื่นในการใช้งานถนนรอบโรงงาน เช่น การขนส่งสินค้า การเคลื่อนย้ายวัตถุดิบ การสัญจรของพนักงาน หรือในด้านความปลอดภัย เช่น ความสะดวกในการเข้าถึงอาคารของนักดับเพลิงเมื่อเกิดเหตุอัคคีภัยและอื่นๆ เป็นต้น
ทำความรู้จัก ถนน มีทั้งหมดประเภท
ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับถนนที่ใช้บริเวณรอบโรงงาน เรามาทำความรู้จักกับประเภทของถนนที่เราสามารถพบเห็น หรือ ใช้กันอยู่เป็นประจำทุกวัน โดยจะแบ่งออกเบื้องต้นได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
- ถนนลูกรัง – เป็นถนนที่ปูด้วยดินลูกรัง ซึ่งจะเสียหายได้ง่ายหากมีการสัญจรด้วยยานพาหนะที่มีน้ำหนักมาก จึงเหมาะจะสร้างในจุดที่ไม่ค่อยมีการสัญจรมากนัก เพื่อประหยัดงบประมาณ
- ถนนลาดยางมะตอย (แอสฟัลต์2) – ถนนที่ลาดด้วยวัสดุยางมะตอย ใช้เวลาก่อสร้างไม่นาน สามารถปรับผิวถนนให้มีความเรียบได้ มีความยืดหยุ่นสูง แต่ก็ต้องบำรุงรักษาเป็นประจำ เพราะสึกหรอง่ายจากการใช้งาน
- ถนนคอนกรีต – เป็นถนนที่ปูด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กเส้น สามารถสร้างให้มีความแข็งแรงได้ตามต้องการ ผิวถนนไม่เรียบมีรอยต่อเพื่อป้องกันรอยแตกร้าวบนผิวถนนให้ลดลง ต้านทานการสึกกร่อนได้สูง ยิ่งไปกว่านั้นถนนประเภทนี้ก็เป็นถนนที่มีความทนทานมากที่สุดสามารถใช้งานได้ยาวนานหลายสิบปี นิยมเอามาใช้เป็นถนนโดยรอบโรงงาน
การออกแบบถนน ก่อน สร้างโรงงานขนาดเล็ก ต้องทำอะไรบ้าง ?
การออกแบบถนนให้เหมาะสมนั้น จำเป็นที่จะต้องวางแผนตั้งแต่การออกแบบที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง พื้นที่ใช้สอย และถนนโดยรอบ ซึ่งจะมีปัจจัยที่ส่งผลหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น ประเภทถนนอย่างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กที่ต้องรองรับการใช้งานในแต่ละวัน การกำหนดความกว้างของถนน และการเว้นระยะจากขอบที่ดิน เป็นต้น
นอกเหนือจากปัจจัยหลักที่กล่าวไปแล้ว ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก ไม่ว่าจะเป็น ปริมาณแสงไฟในตอนกลางคืน สิ่งปลูกสร้างที่อยู่เหนือถนน การออกแบบป้ายบอกทาง เพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกัน
ขั้นตอนการก่อสร้างถนน ทำอย่างไร ?
หากพูดถึงถนนหลายคนอาจคิดว่า เป็นส่วนที่ใช้เวลาก่อสร้างไม่นาน ไม่ต้องออกแบบ และไม่ซับซ้อนมาก ซึ่งความเป็นจริงแล้ว การสร้างถนนนั้นมีขั้นตอนที่ต้องเตรียมตัวหลายอย่าง โดยแต่ละขั้นตอนก็จะมีรายละเอียดเบื้องต้น ดังนี้
- การเตรียมพื้นฐานทาง – เป็นการเตรียมพื้นฐานของถนนให้มีความพร้อมก่อนก่อสร้าง เช่น กำจัดสิ่งกีดขวาง ก้อนหิน ขอนไม้ กองขยะ ฯลฯ
- รองพื้นทาง – เป็นขั้นตอนที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของถนน และลดอัตราการแอ่นตัวของผิวทาง โดยการใช้วัสดุเช่น ทราย หรือดินลูกรังมารอง และบดอัดให้แน่น เป็นทางตามที่ออกแบบไว้
- สร้างชั้นราก – เป็นชั้นที่ต้องใช้วัสดุคุณสมบัติแข็งแรง นิยมสร้างเมื่อผิวทางเป็นประเภทแอสฟัลต์ โดยกรวดอัดแน่น หินผสมซีเมนต์ หรือวัสดุเม็ดเพื่อช่วยรับน้ำหนัก และกระจายน้ำหนักจากการใช้งาน ก่อนสุดท้ายจะเคลือบผิวหน้าด้วย Prime Coat หรือ แอสฟัลต์เจือจาง
- ชั้นผิวทาง – เป็นชั้นบนสุดในการรับน้ำหนัก จึงต้องเลือกใช้ตามความเหมาะสม เช่น วัสดุคอนกรีต แอสฟัลต์
- ถนนยางมะตอย (แอสฟัสต์) – เป็นถนนที่พบเห็นได้บ่อยในบริเวณเขตชุมชน หรือ รอยต่อระหว่างเมือง ผิวถนนเรียบ ไม่มีรอยต่อจึงนิยมเห็นตามถนนทางที่รถเคลื่อนที่ใช้ความเร็วมากๆ และที่สำคัญคือใช้เวลาในการก่อสร้างน้อย
- ถนนคอนกรีต – เป็นอีกหนึ่งถนนที่เราสามารถพบเห็นได้บ่อยมากตามหมู่บ้าน และชุมชนเมือง และผิวถนนคอนกรีตจะไม่เรียบ เพราะมีรอยต่อ เพื่อป้องกันรอยแตกร้าวบนผิวถนน โดยในการก่อสร้างสามารถเสริมเหล็ก หรือวัสดุอื่น เพื่อความแข็งแรงและรองรับน้ำหนักได้มากขึ้น
- ตีเส้น – การตีเส้นถนน จะช่วยให้ปลอดภัยในการใช้งานมากขึ้น ทั้งตอนกลางวัน และกลางคืน รวมถึงการตีเส้นทางคนเดิน หรือทางม้าลาย เพื่อเพิ่มความปลอดภัย ให้กับคนเดินถนนอีกด้วย
สร้างโรงงานขนาดเล็ก เราควรเลือกสร้างถนน แบบไหนดี ?
สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กนั้น การสร้างถนนต้องเหมาะสมตามการใช้งาน งบประมาณ และความต้องการของผู้ประกอบการ ซึ่งถนนรอบโรงงานโดยส่วนใหญ่ ไม่นิยมใช้เป็นถนนยางมะตอย เนื่องจากรองรับน้ำหนักได้น้อยกว่า ผู้รับเหมาส่วนใหญ่จึงเลือกถนนคอนกรีต เสริมเหล็ก เพราะสามารถรองรับน้ำหนักได้มากกว่า ถนนยางมะตอย
และที่สำคัญคือการ เลือกจ้างผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ และมีมาตรฐานในการทำงาน มีการออกแบบวางแผน และรายงานผลอย่างสม่ำเสมอ เลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพ และให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ประกอบการได้เป็นอย่างดี
VKB บริษัทรับเหมา สร้างโรงงานขนาดเล็ก ไปจนถึง ขนาดใหญ่ ด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี
หากใครที่กำลังต้องการสร้างโรงงานเป็นของตัวเองเพื่อขยับขยายธุรกิจให้เติบโตมากยิ่งขึ้น เราขอแนะนำให้ทุกท่านปรึกษากับผู้รับเหมาชั้นนำด้านการ รับสร้างโรงงาน เรายังมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำแนะนำ หรือคำปรึกษาด้านการก่อ สร้างโรงงาน ทุกรูปแบบ ให้บริการตั้งแต่การก่อสร้าง ออกแบบ ให้คำปรึกษาในการบริหารโครงการ โดยที่ดูแลคุณตั้งแต่ต้นจนถึงวันที่ส่งมอบงาน ทำให้คุณมั่นใจได้เลยว่าทุกบริการ จะตอบโจทย์ความต้องการ และมีคุณภาพอย่างแน่นอน
- งานก่อสร้าง รับเหมาก่อสร้างด้วยทีมงาน บุคลากร และ Outsource คุณภาพที่พร้อมบริการอย่างเต็มที่
- งานออกแบบ มีผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ รวมทั้งนักออกแบบรุ่นใหม่ ที่พร้อมออกแบบเพื่อให้ตอบโจทย์ตามสไตล์ของคุณ
- ให้คำปรึกษา และ บริหารโครงการ นอกจากการก่อสร้างแล้ว เรายังให้คำแนะนำ ปรึกษา และ ช่วยเหลือปัญหาที่เกิดจากการก่อสร้างทุกรูปแบบ
ต้องการผู้ รับสร้างโรงงาน อุตสาหกรรมดีๆ สามารถสอบถาม V.K.B และ ดูข้อมูลเพิ่มเติมช่องทางอื่นๆ ได้เลย
Facebook : VKB Contracting
Line : @vkbth
Tel : 081-735-6625 , 097-445-4146 , 02-377-6591 , 02-735-1636 , 02-735-1637
Email : vkb.cont@gmail.com