“สร้างบ้านต้องตอกเสาเข็มไหม?” เป็นอีกหนึ่งคำถามสำหรับคนที่กำลังจะสร้างบ้านใหม่เกิดข้อสงสัยกัน เพราะเสาเข็มถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อการก่อสร้าง ที่ช่วยเป็นตัวกลางทำหน้าที่ในการถ่ายเทน้ำหนักของสิ่งปลูกสร้างลงสู่พื้นดิน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง ปลอดภัยกับผู้อยู่อาศัย และสามารถใช้งานได้ในระยะยาว
วันนี้ V.K.B จึงอยากจะพาคุณมาทำความรู้จักกับเสาเข็มให้มากยิ่งขึ้นว่า เสาเข็มมีทั้งหมดกี่แบบ และพื้นที่แบบใดไม่ต้องติดตั้งเสาเข็มก็ได้ ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านบทความนี้กันเลย!
อยากสร้างบ้านต้องเริ่มอย่างไร?
‘บ้าน’ คือ สิ่งปลูกสร้างที่สำคัญต่อการอยู่อาศัยของมนุษย์ ถือว่าเป็นพื้นที่ส่วนบุคคล โดยคุณสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามความต้องการ และเมื่อไหร่ที่เราอยู่ในบริเวณบ้านจะรู้สึกถึงความอุ่นใจ สำหรับใครที่อยากจะสร้างบ้าน เพื่อให้ตอบโจทย์กับการอยู่อาศัยมากยิ่งขึ้น สามารถเริ่มต้นได้ด้วยวิธีดังนี้
- ตั้งงบประมาณในการก่อสร้าง การสร้างบ้านไม่ได้มีเพียงแค่ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการปรับหน้าดิน, การออกแบบบ้าน และการตกแต่งภายใน เป็นต้น ซึ่งการตั้งงบประมาณจะเป็นการป้องกันเบื้องต้น ไม่ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงเกินไป จนสร้างความเดือดร้อนให้กับเราในอนาคต
- ระบุความต้องการ เป็นสิ่งสำคัญที่ควรคำนึง เพราะการสร้างบ้านไม่ได้มีเรื่องความสวยงามเท่านั้น แต่ตัวบ้านจะต้องตอบโจทย์กับผู้อยู่อาศัย เช่น จำนวนสมาชิกมีกี่คน, ห้องครัว ห้องรับประทานอาหารหรือห้องรับแขกควรใหญ่ขนาดไหน และห้องนอนกับห้องน้ำควรมีจำนวนกี่ห้อง เป็นต้น
- หาข้อมูลเกี่ยวกับแบบบ้านที่ต้องการ คุณสามารถค้นหาแบบบ้านทางอินเทอร์เน็ตได้ ว่าต้องการให้ดีไซน์เป็นไปในทิศทางใด และนำข้อมูลเหล่านั้นไปปรึกษากับผู้ออกแบบหรือสถาปนิก เพื่อได้รับคำแนะนำในการออกแบบ ทำให้ฟังก์ชันการใช้งานของตัวบ้าน ตอบโจทย์การอยู่อาศัยมากที่สุด
- ติดต่อผู้รับเหมาก่อสร้าง ถ้าหากเรามีแบบบ้านที่ต้องการแล้ว จะต้องทำเรื่องติดต่อผู้รับเหมาให้ทำการประเมินพื้นที่หน้างาน เพราะการเลือกใช้เสาเข็มแบบใด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการออกแบบอาคารว่ามีลักษณะอย่างไร และอยู่ในพื้นที่หน้างานแบบไหน
สร้างบ้านต้องตอกเสาเข็มไหม และต้องใช้แบบไหน?
ก่อนที่คุณจะไปหาคำตอบ ‘การสร้างบ้านจะต้องตอกเสาเข็มไหม’ จะต้องมาทำความรู้จักกับเสาเข็มก่อนว่า เป็นอีกหนึ่งวัสดุที่ใช้กับงานก่อสร้าง มีความสำคัญในการช่วยรองรับน้ำหนักของตัวบ้าน และกระจายน้ำหนักเหล่านั้นลงสู่พื้นดิน เพื่อทำให้โครงสร้างมีความแข็งแรง ซึ่งเสาเข็มจะมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ
- เสาเข็มคอนกรีตอัดแรง (Prestressed Concrete Pile) เป็นเสาเข็มที่นิยมนำมาใช้กับการก่อสร้างบ้านและอาคาร เพราะเสาเข็มคอนกรีตเป็นแบบสำเร็จรูป โดยทำจากปูนซีเมนต์ที่สามารถแข็งตัวได้อย่างรวดเร็ว ควบคู่กับโครงเหล็กอัดแรงสูง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรองรับน้ำหนัก
- เสาเข็มเจาะ (Bored Pile) จะใช้กับสิ่งปลูกสร้างหรืออาคารที่มีพื้นที่อย่างจำกัด เพราะไม่ต้องการให้เกิดแรงสั่นสะเทือนต่อพื้นที่ใกล้เคียงมากที่สุด ซึ่งวิธีในการติดตั้งจะต้องทำการเจาะดินลงไปก่อน หลังจากนั้นวางโครงเหล็กและเริ่มทำการเทคอนกรีตลงไป
- เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยงอัดแรง (Prestressed Concrete Spun Pile) มักจะนำไปใช้กับประเภทอาคารที่มีความสูง เพราะใช้คอนกรีตอัดแรงหล่อขึ้นมา จึงทำให้มีความหนาแน่นสูงมากกว่าคอนกรีตหล่อทั่วไป โดยลักษณะของเสาเข็มจะเป็นทรงกลมและมีรูกลวง ช่วยรองรับน้ำหนักได้อย่างดีเยี่ยม
ดังนั้นการสร้างบ้านในแต่ละครั้งจึงต้องมีการตอกเสาเข็ม และเสาเข็มที่มักจะใช้กับบ้านส่วนใหญ่ จะเป็นเสาเข็มคอนกรีตอัดแรง โดยระดับความลึกเสาจะขึ้นอยู่ความเหมาะสมของเนื้อดินในพื้นที่หน้างาน
>>อ่านบทความ เสาเข็ม มีกี่ประเภท? เพิ่มเติมได้ที่นี่<<
พื้นที่แบบใดที่ไม่ต้องใช้เสาเข็มมารองรับ
การก่อสร้างบ้านหรืออาคารในแต่ละครั้ง จะมีโครงสร้างที่เป็นพื้นชั้นล่างสุดที่อยู่ใต้ดิน เรียกว่า ‘ฐานราก’ มีหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักทั้งหมดของสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งวิธีในการก่อสร้างฐานรากจะนิยมใช้คอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อเพิ่มความแข็งแรงในการรองรับน้ำหนักทั้งหมด และเป็นการลดโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุจากการเคลื่อนตัวของดิน จนส่งผลกระทบทำให้บ้านถล่มลงมา โดยลักษณะฐานรากจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ
- ฐานรากตื้น (Shallow Foundation) จะเป็นรากฐานที่ไม่ต้องมีเสาเข็มมาช่วยรองรับน้ำหนัก เพราะเนื้อดินในบริเวณที่ก่อสร้างมีความหนาแน่น และแข็งแรงมากเพียงพอต่อการรองรับน้ำหนักได้ดี โดยระยะของฐานรากถึงผิวดินจะอยู่ที่ประมาณ 2 – 3 เมตร เพราะใช้กับสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ต้องรองรับน้ำหนักมากนัก
- ฐานรากลึก (Deep Foundation) ต้องมีการตอกเสาเข็ม เพราะเนื้อดินมีความหนาแน่นต่ำ ทำให้มีโอกาสที่ดินจะเคลื่อนตัวได้ง่าย การตอกเสาเข็มจะช่วยให้ฐานรากถ่ายน้ำหนักลงดินได้ง่ายมากขึ้น โดยระยะความลึกเสาจะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของดินในพื้นที่หน้างาน และน้ำหนักของตัวอาคาร
ราคาของเสาเข็ม
การติดตั้งเสาเข็มค่อนข้างเป็นงานที่ละเอียดอ่อน เพราะเกี่ยวข้องกับความแข็งแรงในการรองรับน้ำหนักของสิ่งปลูกสร้าง จึงมีบริษัทที่ให้บริการในการติดตั้งเสาเข็มโดยเฉพาะ ซึ่งการลงเสาเข็มจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบคือ
- เสาเข็มแบบตอก เป็นการนำเสาเข็มสำเร็จรูปมาตอกลงไปในดิน โดยกระบวนการในการลงเสาเข็มไม่ได้มีขั้นตอนที่ซับซ้อน จึงทำให้มีราคาที่ถูกกว่าแบบเจาะ (เปรียบเทียบด้วยน้ำหนักในระดับเดียวกัน)
- เสาเข็มแบบเจาะ จะมีกระบวนการลงเสาเข็มที่ซับซ้อนมากกว่า เพราะจะต้องเริ่มจากการเจาะดินก่อนแล้วถึงจะหล่อเสาขึ้นมา ทำให้มีราคาที่สูงมากกว่าแบบตอก
ซึ่งการติดตั้งเสาเข็มแบบตอกหรือเจาะ จะขึ้นอยู่กับวิศวกรที่เป็นผู้ประเมินพื้นที่หน้างาน และเป็นการประสานงานคู่กับผู้รับเหมา เพื่อกำหนดให้ว่าคุณควรจะติดตั้งเสาเข็มแบบใด เพราะการลงเสาเข็มไม่ได้มีเพียงแค่ความสำคัญของเนื้อดิน แต่จะต้องทำการคำนวณว่าเสาเข็มควรอยู่ในระดับไหน แต่ยังรวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ อย่างเช่น พื้นที่ในบริเวณก่อสร้างกว้างหรือไม่ และมีระยะห่างจากเพื่อนบ้านมากแค่ไหน เพื่อเป็นการลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับบ้านที่อยู่ใกล้เคียงกัน
สรุปแล้วการสร้างบ้านจำเป็นต้องตอกเสาเข็มหรือไม่?
หากคุณอ่านมาถึงตรงนี้ก็คงจะไขข้อสงสัยได้แล้วว่า “สร้างบ้านต้องตอกเสาเข็มไหม?” เพราะเสาเข็มเป็นสิ่งสำคัญกับโครงสร้างบ้าน ซึ่งการเลือกใช้เสาเข็มหรือไม่ใช้นั้นขึ้นอยู่กับสภาพของดินในพื้นที่ ที่เราต้องการนำไปสร้างอาคารหรือบ้านเรือน โดยอาคารที่มีการใช้เสาเข็มจะช่วยป้องกันการทรุดตัวลงของโครงสร้างบ้าน ไม่ให้เกิดการพังถล่มลงมา
V.K.B เป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่พร้อมจะช่วยดูแลคุณอย่างครบวงจร โดยมีทีมงานที่พร้อมออกแบบให้ตอบโจทย์ และมีการก่อสร้างด้วยขั้นตอนที่ได้มาตรฐาน เพราะเราใส่ใจทุกขั้นตอนของการทำงาน
อยากจะสร้างบ้านที่ได้มาตรฐาน ต้องที่ V.K.B
V.K.B เป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ให้บริการมายาวนานกว่า 30 ปี มีการออกแบบ ก่อสร้าง และให้คำแนะนำ หรือบริหารโครงการ จากทีมที่เชี่ยวชาญ และ มีประสบการณ์ ทำให้คุณมั่นใจได้เลยว่างานที่ออกมาจะเป็นไปอย่างที่คุณต้องการ และ มีคุณภาพ
- งานก่อสร้าง สามารถไว้ใจได้ด้วยทีมงาน บุคลากร และ Outsource ที่มีคุณภาพ พร้อมให้บริการคุณได้อย่างเต็มที่
- งานออกแบบ มีผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ รวมทั้งนักออกแบบรุ่นใหม่ ที่จะช่วยให้การออกแบบได้ตอบโจทย์ตามสไตล์ที่ทันสมัยของคุณ
- ให้คำปรึกษา และบริหารโครงการ นอกจากการก่อสร้างแล้ว เรายังให้คำแนะนำ ปรึกษา และช่วยเหลือปัญหาที่เกิดจากการก่อสร้างทุกรูปแบบได้อีกด้วย
สามารถสอบถาม V.K.B และ ดูข้อมูลเพิ่มเติมช่องทางอื่นๆ
Facebook : VKB Contracting
Line : @vkbth
Tel : 02-377-6591 , 02-735-1636 , 02-735-1637
Email : vkb.cont@gmail.com