ระยะร่น โรงงาน กฎหมายที่ผู้ประกอบการต้องรู้!!!

ระยะร่น โรงงาน กฎหมายที่ผู้ประกอบการต้องรู้!!!

ในการก่อสร้างโรงงาน และ โกดังต่างๆ นอกจากกฎหมายโรงงานที่ผู้ประกอบการจะต้องขออนุญาตในการก่อสร้างแล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญนั่นก็คือ ระยะร่น โรงงาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนดในการควบคุมอาคาร โดยจะต้องทำการเช็คให้ดี ไม่เช่นนั้นหากระยะร่นไม่เป็นไปตามข้อกำหนด ก็จะส่งผลให้ไม่สามารถขออนุญาตสร้างสิ่งปลูกสร้าง หรือ ใช้งานอาคารได้นั่นเอง เนื่องจากความปลอดภัยของการใช้อาคารจึงจะทำการยึดระยะร่นเป็นหลัก นอกจากแบบแปลน และ กฎหมายแล้ว สิ่งนี้ก็นับว่าสำคัญไม่ใช่น้อย วันนี้ทาง V.K.B เลยเอาข้อมูลเรื่องของระยะร่นมาฝาก ใครที่กำลังมีแพลนจะก่อสร้างโรงงาน หรือ เป็นผู้ประกอบการไม่ควรพลาดบทความนี้เลย!!!

>>อ่านบทความ กฎหมายโรงงานที่ผู้ประกอยการควรต้องรู้ เพิ่มเติมได้ที่นี่<<

ระยะร่น โรงงาน คืออะไร ?

ระยะร่น เป็นระยะห่างที่ทำการวัดจากตำแหน่งบนทางสาธารณะจนมาถึงตัวของแนวอาคาร (ระยะของพื้นที่จากตัวถนนจนถึงตัวอาคาร โดยจะไม่สนใจแนวเขตที่ดิน) โดยวิธีการวัดก็จะแตกต่างกันไปตามประเภทของอาคาร ประเภทถนน มีทั้งการวัดจากถนนเข้ามา และ วัดจากจุดกึ่งกลางถนน ระยะร่นจะทำการคิดตามประเภทของการอนุญาตการใช้งาน โดยจะต้องยึดตามข้อกำหนดของ กฎกระทรวงฉบับ 55 พ.ศ. 2543 (ข้อที่ 38 และ 39) ซึ่งระยะร่นจะมีด้วยกัน 3 รูปแบบ คือ

  • ระยะร่นโกดัง
  • ระยะร่นโรงงาน
  • ระยะร่นอื่นๆ

นอกจากนั้นยังต้องคำนึงถึงกฎหมายสากลด้วย เช่น ขนาดพื้นที่ทั้งหมดของโรงงานสามารถทำพื้นที่ใช้สอยได้มากน้อยแค่ไหน ทั้งค่า FAR (Floor Area Ratio : ใช้บอกขนาดของพื้นที่ใช้สอย) หรือ ค่า OSR (Open Space Ratio : ใช้บอกพื้นที่ว่างในการทำ Green Area) โดยจะออกแบบให้ตอบโจทย์ฟังก์ชั่นการใช้งานของลูกค้า และ ทำให้ถูกหลักกฎหมายควบคุมอาคาร นอกจากระยะร่นหลักๆ แล้ว ยังมีส่วนระยะร่นอื่นๆ ซึ่งจะมีระยะร่นที่แตกต่างกันออกไปตาม พรบ. ควบคุมอาคาร และ กฎหมายผังเมืองแต่ละประเภท ที่ใช้ในการควบคุมผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของโรงงานให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย

>>อ่านบทความ การออกแบบโรงงานโดยมาตรฐานมืออาชีพ เพิ่มเติมได้ที่นี่<<

 

ระยะร่น โกดัง

ระยะร่นของโกดัง หรือ คลังเก็บสินค้า จะมี 2 รูปแบบ

ระยะร่นโกดัง

  • ระยะร่นโกดังที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 100 ตรม. แต่ไม่เกิน 500 ตรม. (พื้นที่ของอาคารทุกชั้นรวมกัน) จะต้องมีระยะร่นจากแนวเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 6 เมตร (ทั้ง 2 ด้าน) และ ด้านข้างที่เหลือจะมีระยะร่นไม่น้อยกว่า 3 เมตร (ทั้ง 2 ด้าน)

ระยะร่นโกดัง

  • ระยะร่นโกดังที่มีพื้นที่มากกว่า 500 ตรม. ขึ้นไป (พื้นที่ของอาคารทุกชั้นรวมกัน) จะต้องมีระยะร่นจากแนวเขตที่ดินสำหรับตัวอาคารไม่น้อยกว่า 10 เมตร (ทั้ง 2 ด้าน) และ ด้านข้างที่เหลือจะมีระยะร่นไม่น้อยกว่า 5 เมตร (ทั้ง 2 ด้าน)

ระยะร่น โรงงาน

ระยะร่นของโรงงานสำหรับการผลิต จะมี 3 รูปแบบ จะคล้ายๆ กับระยะร่นของโกดังเพียงแต่จะมีข้อกำหนดที่มากกว่า เนื่องจากเป็นส่วนที่จะต้องมีเครื่องจักร และ ใช้มีกระบวนการผลิตต่างๆ ทำให้ต้องดูแลเรื่องความปลอดภัยมากขึ้น

ระยะร่น โรงงาน

  • ระยะร่นโรงงานที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตรม. แต่ไม่เกิน 500 ตรม. (พื้นที่ของอาคารทุกชั้นรวมกัน) จะต้องมีระยะร่นจากแนวเขตที่ดินสำหรับการก่อสร้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร (ทั้ง 2 ด้าน) โดยในส่วนของผนังจะต้องใช้เป็นผนังทึบ (ยกเว้นในส่วนของประตูหนีไฟ) และ ในส่วนของด้านที่เหลือจะมีระยะร่นไม่น้อยกว่า 6 เมตร

โกดัง โรงงาน

  • ระยะร่นโรงงานที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 500 ตรม. แต่ไม่เกิน 1,000 ตรม. (พื้นที่ของอาคารทุกชั้นรวมกัน) จะต้องมีระยะร่นจากแนวเขตที่ดินสำหรับการก่อสร้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร (ทุกด้าน)

ระยะร่น โรงงาน

  • ระยะร่นโรงงานที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตรม. ขึ้นไป (พื้นที่ของอาคารทุกชั้นรวมกัน) จะต้องมีระยะร่นจากแนวเขตที่ดินสำหรับการก่อสร้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร (ทุกด้าน)

สรุประยะร่นโรงงาน

การเว้นระยะร่นนับว่าเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ ส่วนใหญ่จะไม่สามารถทำการสร้างโรงงานเต็มพื้นที่ของที่ดินที่มีได้ เนื่องจากจะต้องถูกหักจากระยะร่นที่ พรบ. ควบคุมโรงงานได้กำหนดไว้ เช่นมีที่ดิน 1,000,000 ตรม. แต่พอเวลาก่อสร้างโรงงานไปแล้วพื้นที่ที่ได้อาจจะไม่ถึง 1,000,000 ตรม. เพราะจะต้องหักในส่วนของระยะร่นออกไป ในส่วนนี้ผู้รับเหมาจำเป็นจะต้องปฏิบัติเพื่อให้ถูกหลักการสร้างโรงงานที่กฎหมายกำหนด

 

ระยะอื่นๆ

นอกจากระยะร่นของโกดัง และ โรงงานแล้ว บางครั้งก็จะมีระยะร่นที่ต้องยึดจากปัจจัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นความกว้างของถนนภายนอกโครงการ เช่น ทางหลวง ระยะร่นระหว่างอาคาร รวมทั้งระยะร่นจากแหล่งชุมชน แม่น้ำลำคลอง

ระยะร่นจากแหล่งน้ำ

  • แหล่งน้ำที่มีขนาดความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ระยะร่นจะต้องไม่น้อยกว่า 3 เมตร
  • แหล่งน้ำที่มีขนาดความกว้างใหญ่กว่า 10 เมตรขึ้นไป ระยะร่นจะต้องไม่น้อยกว่า 6 เมตร
  • แหล่งน้ำขนาดความกว้างใหญ่พิเศษ อย่างทะเลสาบ ทะเล บึงน้ำ ระยะร่นจะต้องไม่น้อยกว่า 12 เมตร

นอกจากแหล่งน้ำแล้วก็ยังมีในส่วนของระยะร่นจากแนวเขตที่ดินผู้อื่นๆ หรือ อาคารขนาดใหญ่ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารขนาดสูง ที่ระยะร่นก็จะแตกต่างกันไปซึ่งจะไม่เหมือนกับระยะร่นของโกดัง และ โรงงาน ดังนั้นก่อนที่จะก่อสร้างควรจะทำการศึกษารูปแบบของอาคารที่เราจะสร้างให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินการสร้างอาคารนั้นๆ

 

ถ้าไม่เว้นระยะร่นในการก่อสร้างผิดไหม และ ทำไมต้องเว้นระยะร่น ?

ผิดอย่างแน่นอน เพราะจะถือได้ว่าไม่ปฏิบัติตามกฎหมายการควบคุมอาคาร และ หากไม่ได้รับใบอนุญาตจะถือว่าผิดต่อกฎหมาย หากยังก่อสร้างจะต้องเสียค่าปรับ และ ทำการรื้อถอนอาคาร หรือ สิ่งปลูกสร้างภายในโรงงานนั้นๆ สาเหตุที่ต้องทำการเว้นระยะร่นนั่นก็เพื่อความปลอดภัยจากเหตุสุดวิสัย ทั้งจากการเกิดอัคคีภัยในเวลาที่เกิดไฟไหม้ จะทำให้รถดับเพลิงเข้าถึงตัวอาคารได้สะดวกขึ้น และ ป้องกันไม่ให้ไฟลามไปยังส่วนอื่นๆ ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง นอกจากนั้นยังช่วยในการป้องกันเวลาที่ทำการก่อสร้าง ซ่อมแซมเพิ่มเติม ทำให้เหลือพื้นที่ในการติดตั้งอุปกรณ์เสริมโดยไม่ล้ำไปยังบริเวณอื่นๆ อีกด้วย นั่นทำให้เวลาที่ทำการก่อสร้างจะต้องไม่ลืมส่วนของระยะร่นซึ่งถือว่าเป็นอีกส่วนสำคัญที่ต้องมีในการสร้างโรงงาน!!!

อยากได้โรงงานที่เป็นไปตามมาตรฐานเลือก V.K.B

ผู้ประกอบการที่ต้องการจัดสร้างโรงงาน บริษัท V.K.B contracting ของเราเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ให้บริการออกแบบ และ ก่อสร้าง รวมถึงให้คำแนะนำ บริหารโครงการ ที่ให้บริการมายาวนานกว่า 30 ปี ด้วยทีมที่เชี่ยวชาญ และ มีประสบการณ์ ทำให้คุณมั่นใจได้เลยว่างานที่ออกมาจะเป็นไปอย่างที่คุณต้องการ และ มีคุณภาพ

  • งานก่อสร้าง รับเหมาก่อสร้างด้วยทีมงานบุคลากรคุณภาพที่พร้อมบริการอย่างเต็มที่
  • งานออกแบบ มีผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ รวมทั้งนักออกแบบรุ่นใหม่ ที่พร้อมออกแบบเพื่อให้ตอบโจทย์ตามสไตล์ของคุณ
  • ให้คำปรึกษา และ บริหารโครงการ นอกจากการก่อสร้างแล้ว เรายังให้คำแนะนำ ปรึกษา และ ช่วยเหลือปัญหาที่เกิดจากการก่อสร้างทุกรูปแบบ

บริการอย่างเต็มที่ และ เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ

 

 

สามารถสอบถาม V.K.B และ ดูข้อมูลเพิ่มเติมช่องทางอื่นๆ

Facebook : VKB Contracting

Line : @vkbth

Tel081-735-6625 , 097-445-4146 , 02-377-6591 , 02-735-1636 , 02-735-1637

Email : vkb.cont@gmail.com

ติดต่อเรา