นอกจากการสร้างอาคารให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายโรงงาน และ อาคารต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน และ ผู้ที่อาศัยอยู่รอบๆ แล้ว ก็ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการ หรือ เจ้าของอาคารจะต้องให้ความสำคัญไม่น้อยกว่าการก่อสร้างเลย นั่นก็คือเรื่องของการ ตรวจสอบอาคาร ว่าอาคารที่ทำการก่อสร้างมีความปลอดภัย และ ถูกต้องตาม พ.ร.บ ควบคุมอาคารหรือไม่ โดยจะต้องมีผู้ตรวจสอบเข้าไปทำการตรวจสอบตัวอาคาร และ องค์ประกอบต่างๆ บริเวณอาคาร ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ควรจะเป็น วันนี้ V.K.B เลยจะมาแนะนำข้อมูลการตรวจสอบอาคารคร่าวๆ ที่ผู้ประกอบกิจการ เจ้าของอาคารไม่ว่าจะเป็น บ้าน โรงงาน หรือ โกดัง ไม่ควรมองข้าม!!!!
การตรวจสอบอาคาร คืออะไร ?
การตรวจสอบอาคารเป็นการทำเพื่อตรวจสอบสภาพของอาคารโดยรวม ว่าตัวอาคารมีความแข็งแรงมั่นคง และ ระบบต่างๆ ภายในอาคารมีความปลอดภัยต่อการใช้งานหรือไม่ นอกจากนั้นแล้วการตรวจสอบอาคารก็ยังเป็นการทำเพื่อตรวจสอบว่าอาคารมีการชำรุด เสียหาย หรือ บกพร่องตรงไหนบ้าง เพื่อที่จะได้สามารถบำรุงรักษาได้อยากถูกต้อง โดยผู้ที่ตรวจสอบอาคารจะต้องทำการตรวจสอบอาคารตาม พ.ร.บ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 ให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน เพื่อป้องกันตัวอาคารจากอัคคีไฟ หรือ การกระทบกระเทือนจากสิ่งแวดล้อม (เช่น พายุ น้ำท่วม ฟ้าผ่า) ทำให้การตรวจสอบอาคารมีความสำคัญมาก และ เป็นสิ่งที่เจ้าของอาคารควรจะทำเป็นประจำ
อาคารแบบไหนบ้างที่ต้องตรวจสอบ
โดยจะมีอาคารจะมีด้วยกัน 9 ประเภทที่เข้าข่ายอาคารที่ต้องทำการตรวจสอบ
- อาคารสูง – เป็นอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป โดยจะวัดความสูงตั้งแต่พื้นดินไปจนถึงพื้นของชั้นด่านฟ้า ส่วนอาคารทรงจั่ว หรือ ปั้นหยาจะให้วัดความสูงตั้งแต่พื้นดินไปจนถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด โดยจะเป็นอาคารที่มีคนเข้าอยู่ และ ใช้สอยพื้นที่
- อาคารขนาดใหญ่พิเศษ – อาคารที่มีพื้นใช้สอยทุกชั้นภายในอาคารหลังเดียวตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อใช้อาศัย หรือ ประกอบกิจการ
- อาคารชุมนุมคน – อาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือ มีคนชุมนุมตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป เป็นอาคารที่ใช้สำหรับชุมนุมคน
- โรงมหรสพ – อาคารที่ใช้สำหรับฉายภาพยนต์ แสดงละครแสดงดนตรี และ แสดงรื่นเริงอื่นๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดให้เข้าชมการแสดง โดยจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
- โรงแรม – อาคารที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป ตามกฎหมายอาคารประเภทโรงแรม (กฎกระทรวงฉบับที่ 55 ที่ออกตาม พ.ร.บ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522)
- อาคารชุด – อาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป เป็นอาคารที่ใช้อยู่อาศัยร่วมกัน (อาคาร หรือ ส่วนหนึ่งของอาคารที่ใช้ในการอาศัยอยู่สำหรับหลายครอบครัว) โดยจะแบ่งออกเป็นพื้นที่แต่ละหน่วยแยกจากกัน
- อาคารโรงงาน – อาคาร หรือ ส่วนใดส่วนหนึ่งที่ใช้เป็นโรงงาน (ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 ที่ออกตาม พ.ร.บ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522) เป็นโรงงานที่มีความสูงมากกว่า 1 ชั้น และ มีพื้นที่ตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป
- สถานบริการ – อาคาร หรือ ส่วนใดส่วนหนึ่งที่ใช้เป็นสถานบริการตามกฎหมายสถานบริการ ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป
- ป้าย – ป้ายที่มีความสูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือ มีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป รวมถึงป้ายที่ติดตามหลังคา ด่านฟ้าของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป
ประเภทของอาคารทั้งหมดนี้จะต้องถูกตรวจสอบเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ยกเว้นอาคารประเภทที่ 6 (อาคารชุด) ที่ไม่เข้าข่ายอาคารขนาดสูง หรือ อาคารขนาดสูงพิเศษ แต่ถ้าอาคารอยู่นอกเขตควบคุมอาคาร (พื้นที่ที่ไม่มีการประกาศใช้ พ.ร.บ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2552 หรือ กฎหมายผังเมือง) ประเภทของอาคารสูง , อาคารขนาดใหญ่พิเศษ , อาคารชุมนุมคน และ โรงมหรสพ จะเป็นอาคารที่ต้องทำการตรวจสอบความปลอดภัยของตัวอาคาร และ ระบบต่างๆ
ใครที่สามารถตรวจสอบอาคารได้ ?
การจะเข้าไปตรวจสอบอาคารได้ ไม่ใช่ว่าจะเป็นใครก็ได้ แต่ต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเท่านั้น เพราะการตรวจสอบจะต้องใช้ความชำนาญ เช่น การตรวจสอบอาคารโรงงานที่มีขนาดใหญ่ เพราะโรงงานอุตสาหกรรมเป็นโรงงานที่มีเครื่องจักรจำนวนมาก อีกทั้งบางโรงงานก็จะเป็นโรงงานรูปแบบเฉพาะ บางโรงงานเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องตรวจสอบให้ดีเป็นพิเศษ ทำให้การตรวจสอบอาคารโรงงานเป็นเรื่องสำคัญที่ห้ามละเลย ส่วนคนที่สามารถตรวจสอบอาคารได้ สามารถเป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล (บริษัทเอกชน หรือ กระทรวงที่ทำหน้าที่ตรวจสอบ) โดยจะต้องมีคุณสมบัติเข้าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จึงจะสามารถทำการตรวจสอบได้
กรณีเป็นบุคคลธรรมดา
- มีสัญชาติไทย
- ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม หรือ เป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมตามกฎหมาย
- ผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบสภาพอาคาร และ อุปกรณ์ประกอบของอาคารตามที่คณะกรรมการควบคุมอาคารรับรอง
- ไม่เคยถูกเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบในระยะเวลา 2 ปี ก่อนวันขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ
กรณีเป็นนิติบุคคล
- ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย โดยทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งต้องเป็นของผู้มีสัญชาติไทย และ มีผู้เป็นหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้น กรรมการ เป็นผู้มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนผู้เป็นหุ้นส่วน หรือ กรรมการทั้งหมด
- ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรหรือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมตามกฎหมาย
- สมาชิกในคณะผู้บริหารของนิติบุคคลต้องมีจํานวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบสภาพอาคาร และ อุปกรณ์ตามที่คณะกรรมการควบคุมอาคารรับรอง
- สมาชิกในคณะผู้บริหารของนิติบุคคลตามข้อ 3 ต้องไม่เคยถูกเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบในระยะเวลา 2 ปีก่อนวัน ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ
คนที่จะมาเป็นผู้ตรวจสอบต้องขึ้นทะเบียนกับคณะกรรมการควบคุมอาคาร โดยจะได้รับหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบจากคณะกรรมการควบคุมอาคาร จึงจะสามารถดำเนินการเป็นผู้ตรวจสอบได้
จะตรวจสอบอาคารต้องดูอะไรบ้าง ?
การตรวจสอบอาคารจะทำการตรวจสอบอาคารในหลายๆ ด้าน โดยกฎหมายจะกำหนดให้เจ้าของอาคารจะต้องหาผู้ตรวจสอบอาคารมาทำการตรวจสอบ เพื่อให้แน่ใจว่าอาคารมีความปลอดภัยต่อการใช้งาน โดยจะดู 4 ด้านหลักๆ ดังต่อไปนี้
ความมั่นคง และ แข็งแรงของอาคาร
- โดยจะดูว่าตัวอาคารมีการดัดแปลง หรือ ปรับปรุงหรือไม่
- ดูการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบรรทุกบนพื้นอาคาร ว่าสามารถรับน้ำหนักได้เท่าเดิมหรือไม่
- มีสภาพการใช้งานอาคารเป็นอย่างไร
- มีการเปลี่ยนแปลงของวัสดุก่อสร้าง หรือ วัสดุตกแต่งอาคารหรือไม่
- อาคารมีการชำรุด หรือ การทรุดตัวของฐานอาคาร โครงสร้างอาคารหรือไม่
ระบบ และ อุปกรณ์ประกอบอาคาร
ดูระบบบริการ และ การอำนวยความสะดวกว่ายังใช้งานได้ดีหรือไม่
- ตรวจสอบระบบไฟฟ้า เช่น เครื่องปรับอากาศ ระบายอากาศ ลิฟต์ บันไดเลื่อน
- ตรวจสอบระบบประปา เช่น ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบระบายน้ำฝน
- ตรวจสอบระบบป้องกัน และ ป้องกันอัคคีภัย เช่น บันไดหนีไฟ ไฟทางออกฉุกเฉิน ไฟฟ้าสำรอง สัญญาณแจ้งเตือนไฟไหม้ ระบบจ่ายน้ำดับเพลิง
ระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคาร
- แผนการป้องกัน และ ระงับอัคคีภัย
- แผนการซ้อมอพยพผู้ใช้อาคาร
- แผนการบริหารจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยในอาคาร
- แผนการบริหารจัดการของผู้ตรวจสอบอาคาร
ต้องทำการตรวจสอบอาคารทุกกี่ปี ?
ระยะเวลาใน “การตรวจสอบใหญ่” จะทำการตรวจสอบทุก 5 ปี และ จะทำการตรวจสอบประจำปี ปีละ 1 ครั้ง รวมทั้งในช่วงระหว่างปี จะมีการตรวจสอบเป็นระยะทุก 3 – 6 เดือน โดยจะขึ้นกับประเภทของอุปกรณ์ภายในอาคาร และ พื้นที่ที่ต้องการตรวจสอบ ซึ่งจะเป็นไปตาม พ.ร.บ ควบคุมอาคารฉบับที่ 3 พ.ศ.2543
หากเราไม่ทำตามกฎหมาย ตรวจสอบอาคาร จะถูกลงโทษหรือไม่ ?
หากไม่ทำการตรวจสอบอาคารตามกฎหมายจะถือว่ามีความผิด มีโทษต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ โดยจะปรับอีกวันละ 10,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง นอกจากนั้นก็มีกรณีที่แตกต่างกันออกไป
- ทําการก่อสร้าง / ดัดแปลง / เคลื่อนย้าย / ใช้ / เปลี่ยนแปลงการใช้อาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือ ทำให้ผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต – มีโทษจําคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ และ ปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่มีการกระทําการฝ่าฝืน หรือ จนกว่าจะปฏิบัติได้ถูกต้อง
- ทําการรื้อถอนอาคารโดย ไม่ได้รับอนุญาต – มีโทษจําคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ
- การฝ่าฝืนคําสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยดําเนินการแก้ไขข้อมูล หรือ เอกสารที่เกี่ยวข้องในการอนุญาต โดยวิธีการแจ้ง – ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
หากทำการฝ่าฝืนจะมีคำสั่งให้เจ้าของอาคาร หรือ ผู้ควบคุมงาน ระงับการกระทําดังกล่าว และ มีคําสั่งห้ามไม่ให้บุคคลใดใช้ หรือ เข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคารที่มีการกระทําการฝ่าฝืน หากมีการแก้ไข และ ดำเนินการให้ถูกต้องแล้ว ทางเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นจะทำการพิจารณา
- กรณีสามารถแก้ไขได้ – เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะออกคําสั่งให้เจ้าของอาคาร หรือ ผู้ครอบครองอาคารแก้ไขให้ถูกต้อง
- กรณีที่ไม่สามารถแก้ไขได้ – เจ้าพนักงานท้องถิ่นสามารถสั่งให้รื้อถอนอาคารทั้งหมด หรือ บางส่วนก็ได้ และ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะดําเนินการแจ้งความเพื่อดําเนินคดี
การตรวจสอบอาคารนับว่าเป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนดให้เจ้าของอาคารต้องทำการตรวจสอบ เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานอาคาร ทั้งต่อร่างกาย และ ทรัพย์สิน นอกจากนั้นยังนับว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาด เพราะหากเราตรวจสอบสม่ำเสมอก็จะสามารถแก้ไขได้ตรงจุด และ ซ่อมแซมให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย ฉะนั้นต้องอย่าละเลยการตรวจสอบอาคารกันนะ!!!
อยากสร้างอาคารคุณภาพเลือก V.K.B
ผู้ประกอบการที่ต้องการจัดสร้างบ้าน โกดัง หรือ โรงงาน บริษัท V.K.B contracting ของเราเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ให้บริการออกแบบ และ ก่อสร้าง รวมถึงให้คำแนะนำ บริหารโครงการ ที่ให้บริการมายาวนานกว่า 30 ปี ด้วยทีมที่เชี่ยวชาญ และ มีประสบการณ์ ทำให้คุณมั่นใจได้เลยว่างานที่ออกมาจะเป็นไปอย่างที่คุณต้องการ และ มีคุณภาพ
- งานก่อสร้าง รับเหมาก่อสร้างด้วยทีมงาน บุคลากร และ Outsourch คุณภาพที่พร้อมบริการอย่างเต็มที่
- งานออกแบบ มีผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ รวมทั้งนักออกแบบรุ่นใหม่ ที่พร้อมออกแบบเพื่อให้ตอบโจทย์ตามสไตล์ของคุณ
- ให้คำปรึกษา และ บริหารโครงการ นอกจากการก่อสร้างแล้ว เรายังให้คำแนะนำ ปรึกษา และ ช่วยเหลือปัญหาที่เกิดจากการก่อสร้างทุกรูปแบบ
บริการอย่างเต็มที่ และ เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ
สามารถสอบถาม V.K.B และ ดูข้อมูลเพิ่มเติมช่องทางอื่นๆ
Facebook : VKB Contracting
Line : @vkbth
Tel : 081-735-6625 , 097-445-4146 , 02-377-6591 , 02-735-1636 , 02-735-1637
Email : vkb.cont@gmail.com