สำหรับผู้ประกอบการที่อยากจะจัดตั้งโรงงานเพื่อขยายธุรกิจ รู้หรือไม่ว่าการที่จะ เปิดโรงงาน สักแห่งได้จะเป็นจะต้องทำการศึกษาข้อมูลให้ดีเสียก่อน นอกจากข้อมูลแล้วยังจำเป็นจะต้องทำการศึกษารายละเอียด และ ค่าใช้จ่ายในการจัดตั้งให้ดีก่อนว่าคุ้มค่าต่อการจัดตั้งโรงงานหรือไม่ เพราะ การจัดตั้งโรงงานมีทั้งกฎหมาย ข้อบังคับต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติตาม วันนี้ทาง V.K.B จะมาแนะนำ ข้อควรรู้สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการเปิดโรงงานไม่ควรพลาด!!!
มารู้จักประเภทของโรงงานกันดีกว่า ?
ก่อนอื่นเราจะต้องทำการศึกษาโรงงานให้ดีก่อนว่าโรงงานที่เราจะเปิด เป็นโรงงานประเภทไหน เพราะแต่ละโรงงานก็มีเอกสารที่ต้องยื่นแตกต่างกัน อีกทั้งประเภทโรงงานที่แตกต่างกันก็มีรูปแบบการขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน การเสียค่าธรรมเนียม และ กฎหมายโรงงานที่ต่างกัน โรงงานสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ตามพระราชบัญญัติโรงงาน ปี พ.ศ. 2563
- โรงงานประเภทที่1 – โรงงานที่มีเครื่องจักรกำลังไม่เกิน 20 แรงม้า และ มีพนักงานไม่เกิน 20 คน
- โรงงานประเภทที่2 – โรงงานที่มีเครื่องจักรกำลังมากกว่า 50 แรงม้าแค่ไม่เกิน 75 แรงม้า และ มีพนักงานตั้งแต่ 50 คนแต่ไม่เกิน 75 คน
- โรงงานประเภทที่3 – โรงงานที่มีเครื่องจักรกำลังมากกว่า 75 แรงม้า และ มีพนักงานมากกว่า 75 คนขึ้นไป
โรงงานประเภทที่ 1 และ ประเภทที่ 2 สามารถทำการจัดตั้งโรงงาน และ ดำเนินกิจการได้เลยโดย ไม่ต้องขอใบอนุญาต แต่ก็ควรจะปฏิบัติตามข้อกำหนดของ พ.ร.บ โรงงานอย่างเคร่งครัด ส่วนประเภทที่2 ถึงแม้จะไม่ต้องขอใบอนุญาตแต่จะต้องทำการแจ้งความจำนนว่าต้องการเปิดกิจการ และ เสียค่าธรรมเนียมในการติดตั้งโรงงานทุกๆ ปี โรงงานประเภทที่ 3 จะจัดตั้ง และ ดำเนินกิจการได้ก็ต่อเมื่อทำการ ขอใบอนุญาตก่อนถึงจะประกอบกิจการได้ (*รวมทั้งโรงงานประเภทที่ 1 และ 2 ที่ถูกจัดรวมเป็นโรงงานประเภทที่ 3 เนื่องจากเป็นกิจการที่อาจก่อให้เกิดมลพิษ) หากไม่ขอใบอนุญาตจะถือว่าทำผิดตาม พ.ร.บ โรงงานที่กฎหมายกำหนดเอาไว้
>>อ่าน กฎหมายโรงงาน และ การจัดตั้งโรงงาน เพิ่มเติมที่นี่<<
ค่าใช้จ่ายที่ใช้สำหรับการ เปิดโรงงาน
นอกจากการขอใบอนุญาตจัดตั้งโรงงานแล้ว การประเมินค่าใช้จ่ายก็ถือว่าสำคัญไม่แพ้กัน เพราะการจะเปิดโรงงานสักแห่ง ค่าใช้จ่ายไม่ได้มีเฉพาะแค่ค่าก่อสร้างเท่านั้น หากคุณเป็นผู้ประกอบ ที่ต้องการเปิดโรงงานก็จะต้องเตรียมงบเผื่อไว้สำหรับค่าใช้จ่ายต่างๆ ด้วย ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นสำหรับคนที่คิดจะเปิดโรงงานมีดังต่อไปนี้!!!
- ค่ารับเหมาก่อสร้าง
- ค่าสถานที่จัดตั้งโรงงาน
- ค่าเครื่องจักรสำหรับประกอบกิจการ
- ค่าการวางระบบต่างๆ ที่จำเป็นในโรงงาน
ค่าในการก่อสร้าง
เนื่องจากการก่อสร้างโรงงานเป็นกระบวนการที่ใช้ทั้งเงิน และ เวลา ก่อนอื่นเราจะต้องทำการเลือกผู้รับเหมาที่จะมาทำการก่อสร้างให้กับเรา ซึ่งการเลือกผู้รับเหมาถือว่าสำคัญมาก เพราะหากได้ผู้รับเหมาไม่ดี อาจทำให้การก่อสร้างเกิดปัญหาตามมาทีหลังได้ ให้เลือกผู้รับเหมาที่น่าเชื่อถือ มีประสบการณ์ทำงานมายาวนาน มีผลงานที่สามารถการันตีคุณภาพของโรงงานได้ การเลือกผู้รับเหมาเจ้าใหญ่อาจจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าแต่คุณจะได้โรงงานที่ดีมีคุณภาพคุ้มค่ากับการลงทุน อย่าง VKB ที่เป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่เปิดให้บริการมายาวนานกว่า 30 ปี และ ได้รับความไว้ใจจากองค์กรชั้นนำในการก่อสร้างโรงงานต่างๆ นอกจากค่าก่อสร้างแล้วยังรวมไปถึงค่าออกแบบแปลนโรงงานโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้โรงงานออกมาเป็นไปตามมาตรฐานโรงงานที่ดี ส่วนมากค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะมี 3 ส่วน คือ งานโครงเหล็ก งานคอนกรีต และ งานตกแต่ง
ตัวอย่างเช่น งานโครงเหล็กในส่วนของโครงหลังคา เสา โครงผนัง และ งานคอนกรีตในส่วนของเสาเข็มอื่นๆ ราคาจะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานโรงงาน เช่น บริเวณโรงงานที่จะสร้าง พื้นที่จะต้องรับน้ำหนักมากเท่าไหร่ เสาเข็มที่ใช้ก็จะยิ่งใหญ่ขึ้นราคาก็จะสูงขึ้น ส่วนราคาวัสดุที่ใช้จะขึ้นอยู่กับราคาตลาดของวัสดุในช่วงเวลานั้นๆ โดยในปัจจุบันขนาดเล็ก และ ขนาดกลาง ราคาประมาณ 6 – 12K / ตรม. (ในส่วนของราคาสำหรับโกดัง โรงงานเก็บของธรรมดา) นอกจากนั้นก็จะเป็นพวกค่าการตกแต่ง และ งานอื่นๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับขนาดของโรงงาน และ สไตล์การตกแต่งของโรงงานว่าต้องการโรงงานแบบไหน สไตล์ไหน
ค่าสถานที่ตั้งโรงงาน
สถานที่จัดตั้งโรงงาน หรือ ทำเลของโรงงานขึ้นอยู่กับว่าคุณจัดตั้งโรงงานที่ไหน ได้ทั้งการเช่าที่ดินสำหรับตั้งโรงงาน และ ซื้อที่ดินสำหรับจัดตั้งโรงงานเลย ซึ่งที่ดินที่จะสร้างโรงงานไม่ใช่ว่าเลือกที่ไหนก็ได้ เพราะโรงงานจะต้องมีการนำเข้า ส่งออกสินค้าตลอด อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงว่าโรงงานไปตั้งอยู่ใกล้แหล่งชุมชน ที่พักอาศัยหรือไม่ เพราะโรงงานเองก็มีข้อกฎหมายการจัดตั้งโรงงานว่าต้องอยู่ห่างจากชุมชนเท่าไหร่กำหนดเอาไว้ สถานที่จัดตั้งโรงงานที่ดีจะทำให้สามารถกระจายสินค้าได้ง่าย และ ทำให้คนรู้จักสินค้าของเรา รู้จักโรงงานของเรามากยิ่งขึ้น
ในส่วนของค่าสถานที่ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราเป็นเจ้าของที่ดินหรือไม่ หากไม่ได้เป็นจะเช่า หรือ ซื้อเพื่อสร้างโรงงาน นอกจากนั้นค่าที่ดินก็จะขึ้นอยู่กับทำเลที่ตั้ง เช่น หากเป็นโรงงานเสื้อผ้าที่ต้องกระจายสินค้าไปทั่วประเทศ ก็ควรเลือกที่ตั้งที่สามารถกระจายไปได้หลายจังหวัด แต่ทำเลที่อยู่ในจังหวัดใหญ่ๆ ค่าที่สถานที่ก็อาจจะสูงขึ้น ส่วนใครที่มีที่ดินเปล่าอยู่แล้วก็ถือว่าเซฟค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไป
>>สามารถเช็คราคาประเมินที่ดินจังหวัดต่างๆ จากกรมธนารักษ์ได้ที่นี่<<
ค่าเครื่องจักรสำหรับประกอบกิจการ
สำหรับโรงงานเครื่องจักรนับว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้เลย ซึ่งส่วนมากโรงงานจะใช้เครื่องจักรเพื่อทุ่นแรงสำหรับการผลิตสินค้า แต่ราคาของเครื่องจักรนั่นค่อนข้างสูง หากคุณต้องการจะซื้อเครื่องจักรก็ต้องเตรียมงบประมาณให้เพียงพอ แต่ก็มีโรงงานจำนวนไม่น้อยที่เลือกที่จะลงทุนกับเครื่องจักรมากกว่าแรงงานคน เพราะความเร็ว และ ประสิทธิภาพในการทำงาน อีกทั้งยังสามารถทำงานได้อัตโนมัติอีกด้วย แต่ก็จะต้องมีค่าในการบำรุงรักษาเครื่องจักร ส่วนราคาจะขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องจักร กำลังการผลิต ยี่ห้อ ประเภทของเครื่องจักร และ อีกหลายปัจจัย ส่วนใหญ่ราคาจะเริ่มต้นตั้งแต่หลักหมื่นจนถึงหลักล้าน แต่ก็ต้องเลือกให้ดี และ คำนึงถึงการใช้งานในระยะยาว หากเป็นโรงงานขนาดเล็ก ก็อาจจะซื้อเครื่องจักรไม่กี่เครื่องแล้วแต่ประเภทของเครื่องจักร และ กำลังผลิตที่ใช้ เพราะประเภทของเครื่องจักรขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมนั้นๆ
ค่าการวางระบบในโรงงาน
นอกจากค่าก่อสร้าง ค่าสถานที่ และ ค่าเครื่องจักรแล้ว โรงงานยังจะต้องทำการวางระบบต่างๆ เอาไว้เพื่อควบคุม และ ดูแลความปลอดภัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบไฟ ระบบความปลอดภัย ยิ่งถ้าเป็นโรงงานที่ทำเกี่ยวกับพวกสารเคมี อุตสาหกรรมที่ต้องผ่านกระบวนการแปรรูปต่างๆ หรือ อุตสาหกรรมเฉพาะทาง อาจจะต้องมีการวางระบบรูปแบบเฉพาะเพื่อรักษาความปลอดภัยต่างๆ นอกจากนั้นก็จะต้องวางคนที่จะตรวจสอบดูแล เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันจากการทำงาน ซึ่งค่าการวางระบบ และ ทำการตรวจสอบก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบของโรงงาน รูปแบบธุรกิจด้วยว่าเป็นรูปแบบไหน ส่วนใหญ่จะต้องมีการตรวจเช็คตลอด จากเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยโรงงาน (จป.) ซึ่งหากโรงงานจ้างก็จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ส่วนค่าใช้จ่ายในการวางระบบก็จะแตกต่างกันไปตามรูปแบบของประเภทโรงงาน และ ขนาดของโรงงาน เช่น ระบบดับเพลิง , ระบบน้ำ , ระบบเน็ตเวิร์ค
คำนวณค่าใช้จ่ายว่าคุ้มค่าต่อการ เปิดโรงงาน หรือไม่ ???
เมื่อเรารู้แล้วว่ามีค่าใช้จ่ายคร่าวๆ อะไรบ้างในการเปิดโรงงาน คุณจะต้องมาทำการคำนวณว่าค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งค่าก่อสร้าง ค่าที่ ค่าเครื่องจักร ว่าถ้างบประมาณที่ต้องใช้ประมาณนี้ ธุรกิจของเราที่จะได้จากการเปิดโรงงานนั้นคุ้มค่าหรือไม่ ส่วนใหญ่ต้นทุนก็จะมีทั้งหลักๆ ก็จะเป็นค่าก่อสร้าง ค่าเครื่องจักร และ ก็ยังมีส่วนของค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งค่าจ่างพนักงาน ค่าบำรุงรักษาเครื่องจักร ค่าวัตถุดิบ และ ส่วนต่างๆ ในส่วนของต้นทุนโรงงานเป็นเพียงแค่หนึ่งในต้นทุนสำหรับการขยายธุรกิจ โดยให้คิดจากมูลค่าของสินค้าที่เราจะขาย จากนั้นให้คำนวณว่าจะต้องใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ถึงจะสามารถคืนทุนได้ในระยะเวลาอันสั้น เพราะหากใช้เงินลงทุนมากความเสี่ยงที่ตามมาก็ยิ่งมาก (ค่าใช้จ่ายต่างๆ) ต้องนึกถึงอัตราส่วนของกำไรสุทธิเมื่อหักค่าใช้จ่ายเรียบร้อย (ROI) ซึ่งจะช่วยในเรื่องของงบประมาณ โดยวันนี้ทาง V.K.B ก็ได้เอาวิธีการคำนวณค่า ROI ซึ่งจะช่วยในการคำนวณผลลัพธ์ที่ได้จากการเปิดโรงงานว่าเงินทุนที่ลงไปให้ผลตอบแทนคุ้มค่าหรือไม่!!!
วิธีการคิดคำนวณ ROI
ROI หรือ อัตราส่วนผลตอบแทนจากการลงทุน เป็นการนำ (รายได้จากการลงทุน – เงินลงทุน) มาหารด้วยเงินลงทุน และ คูณด้วย100 เพื่อหาเปอร์เซ็นต์ของผลตอบแทนที่จะได้รับ ยิ่งเปอร์เซ็นมากกว่า 0 หรือ 100% แสดงว่าได้กำไรจากการลงทุนมาก (ยิ่งเปอร์เซ็นต์สูงยิ่งดี ถ้าเปอร์เซ็นต์น้อยกว่า 0 หรือ กำไลติดลบแสดงว่าขาดทุน) เช่น ต้นทุนทั้งหมดเป็นจำนวน 1,000,000 บาท เมื่อเปิดโรงงานมามียอดสั่งซื้อสินค้าเข้ามาจำนวนมาก คิดเป็นรายได้ต่อปีประมาณ 2,500,000 บาท หมายความว่าจะได้กำไรจากการลงทุน 1,500,000 บาทต่อปี เมื่อนำไปคำนวณตามสูตรของ ROI จะคิดเป็น 150% แสดงว่าโรงงานจะสามารถคืนทุนได้ภายใน 1 ปี
**การคำนวณดังกล่าวเป็นเพียงสถานการณ์ที่จำลองขึ้นเท่านั้น เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณ**
เงินที่เราทำการลงทุนเปิดโรงงานไปก็จะเป็นตัวช่วยที่ทำให้เราสามารถตัดสินใจเรื่องการผลิต และ ควบคุมการผลิตได้ ส่วนใครที่มีงบประมาณจำกัดก็ต้องทำการวางแผนค่าใช้จ่ายให้ดี ดังนั้นต้องแน่ใจเสียก่อนว่าสำหรับธุรกิจของคุณโรงงานมีความจำเป็นมากแค่ไหน หากธุรกิจของคุณจำเป็นจะต้องผลิตสินค้า จัดเก็บ และ ส่งออกตลอด การมีโรงงานก็นับว่าจำเป็นอย่างมาก
V.K.B พร้อมให้คำปรึกษากับคนที่อยากเปิดโรงงาน
สำหรับใครที่อยากเปิดโรงงาน อยากมีโรงงานเป็นของตัวเอง แต่ไม่รู้จะปรึกษาใคร V.K.B พร้อมให้คำปรึกษา และ ช่วยเหลือปัญหาด้านการก่อสร้างทุกรูปแบบ ไม่เพียงแค่นั้นเรายังเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ให้บริการออกแบบ และ ก่อสร้าง รวมถึงให้คำแนะนำ บริหารโครงการ ที่ให้บริการมายาวนานกว่า 30 ปี ด้วยทีมที่เชี่ยวชาญ และ มีประสบการณ์ ทำให้คุณมั่นใจได้เลยว่างานที่ออกมาจะเป็นไปอย่างที่คุณต้องการ และ มีคุณภาพ
- งานก่อสร้าง รับเหมาก่อสร้างด้วยทีมงาน บุคลากร และ Outsourch คุณภาพที่พร้อมบริการอย่างเต็มที่
- งานออกแบบ มีผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ รวมทั้งนักออกแบบรุ่นใหม่ ที่พร้อมออกแบบเพื่อให้ตอบโจทย์ตามสไตล์ของคุณ
- ให้คำปรึกษา และ บริหารโครงการ นอกจากการก่อสร้างแล้ว เรายังให้คำแนะนำ ปรึกษา และ ช่วยเหลือปัญหาที่เกิดจากการก่อสร้างทุกรูปแบบ
อยากมีโรงงานๆ ต้องที่ V.K.B contracting !!!
สามารถสอบถาม V.K.B และ ดูข้อมูลเพิ่มเติมช่องทางอื่นๆ
Facebook : VKB Contracting
Line : @vkbth
Tel : 081-735-6625 , 097-445-4146 , 02-377-6591 , 02-735-1636 , 02-735-1637
Email : vkb.cont@gmail.com