รู้หรือไม่!? “ลักษณะการผลิต” สามารถสร้างกำไรให้กับธุรกิจได้ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่เพิ่ง เปิดโรงงาน เกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ผลิตสินค้า อาจเกิดคำถามว่าต้องวางแผนการผลิตสินค้าอย่างไร ถึงจะเหมาะสมกับลักษณะของธุรกิจ? วันนี้ V.K.B ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตแบบ OEM, ODM, OBM รวมถึงขั้นตอนในการ ก่อสร้างโรงงาน เพื่อเป็นแนวทางดีๆ ให้กับผู้ประกอบธุรกิจมือใหม่
โรงงาน OEM, ODM, OBM คืออะไร
หลายคนอยากสร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง แต่ไม่รู้ว่าควรเริ่มจากตรงไหน หัวข้อนี้ V.K.B จะพาคุณมาทำความรู้จักกับ คำว่า OEM, ODM และ OBM สำหรับใครที่วางแผนผลิตสินค้าหรือสร้างแบรนด์ของตัวเอง อาจเคยได้ยินคำเหล่านี้มาบ้าง เพราะคำเหล่านี้เป็นชื่อเรียกโรงงานผลิตสินค้าที่เปิดบริการแต่ละประเภท
เพื่อให้คุณตัดสินใจเลือกโรงงานผลิตสินค้าที่เหมาะสม หรือตรงกับแนวทางของธุรกิจ มาดูกันว่า OEM, ODM และ OBM แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร แล้วควรเลือกโรงงานผลิตสินค้าอย่างไรให้เหมาะกับสินค้า และธุรกิจของคุณมากที่สุด
1. OEM (Original Equipment Manufacturer)
ลักษณะโรงงานผลิตสินค้าตามคำสั่งซื้อของลูกค้า ที่มีความสนใจจะจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ของตนเอง โดยใช้กระบวนการผลิตของโรงงานตั้งแต่ฝ่ายผลิต ไปจนถึงการใช้เครื่องต่างๆ สำหรับการผลิต ซึ่งทำให้ลูกค้าที่มาจ้างโรงงานผลิตนั้นประหยัดค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังช่วยลดภาระและปัญหาในการทำธุรกิจลงได้
เหมาะสำหรับคนที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจเป็นของตนเอง แต่ไม่ต้องการลงทุน สร้างโรงงาน ผลิตเอง ซึ่งโรงงานประเภทนี้จะไม่เน้นการสร้างแบรนด์ของตนเอง แต่เน้นการผลิตให้กับแบรนด์อื่นๆ ดังนั้น OEM จึงเป็นธุรกิจสำเร็จรูปที่เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคุณ
ตัวอย่างเช่น สินค้าแฟชั่น, เครื่องสำอาง-อาหารเสริม, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ โปรแกรมซอฟต์แวร์ เป็นต้น
2. ODM (Original Design Manufacturer)
การผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ของลูกค้า ซึ่งผู้ผลิตมีหน้าที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ ออกแบบ และวางองค์ประกอบต่างๆ ออกมาภายใต้แบรนด์ของลูกค้า โดยลักษณะโรงงานผลิตสินค้าประเภทนี้มีความคล้ายคลึงกับ OEM แต่ ODM มีการทำวิจัย และพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่ทำการผลิต และนำแบบสินค้านั้นไปเสนอขายให้ลูกค้าที่มีแบรนด์อยู่แล้ว หรือเป็นการออกแบบร่วมกัน
โดยที่ลูกค้ามีหน้าที่ในกระบวนการขาย และกระจายสินค้าสู่ตลาดเอง การผลิตในลักษณะนี้มีทั้งแบบที่เป็น Exclusive คือ การออกแบบให้เฉพาะรายจะมีการคิดค่าออกแบบที่สูง ส่วน Non Exclusive คือ การออกแบบให้กับลูกค้าหลายราย ซึ่งจะได้ราคาค่าออกแบบที่ต่ำลงนั่นเอง แต่ทั้งนี้การผลิตแบบ ODM ก็เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้นสร้างแบรนด์ใหม่ๆ
ตัวอย่างเช่น โรงงานผลิตสิ่งทออาจเข้าไปติดต่อทำการค้าแบบ ODM กับแบรนด์ที่มีชื่อเสียงด้านเสื้อผ้า โดยทำการตกลงว่าจะเสนอออกแบบเสื้อผ้าให้กับแบรนด์นั้นๆ ซึ่งการผลิตในลักษณะนี้จะช่วยให้เจ้าของแบรนด์สามารถโฟกัสกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเต็มที่
3. OBM (Original Brand Manufacturer)
การผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ของผู้ผลิต เหมาะสำหรับแบรนด์ที่มีความมั่นคง และมีการทำการตลาดภายใต้แบรนด์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถทำการผลิตสินค้า และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้ในปริมาณมาก โดยมุ่งเน้นผลิตสินค้าที่อยู่ภายใต้แบรนด์ของตนเองเท่านั้น ถ้าหากแบรนด์มีความแข็งแรงมากพอ และต้องการขยายการผลิต การเลือกสร้างโรงงานเองก็จะสามารถช่วยลดต้นทุนได้มากทีเดียว
ตัวอย่างเช่น การผลิตพัดลมไอน้ำ หรือ เครื่องฟอกอากาศ ที่มีโรงงานผลิตเอง มีการซื้อเครื่องจักร และจ้างพนักงาน โดยออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด และทำภายใต้แบรนด์ของตัวเอง เป็นต้น
การขออนุญาต ก่อสร้างโรงงาน แต่ละประเภท มีขั้นตอนอะไรบ้าง
อย่างที่ทราบกันดีว่าการ สร้างโรงงาน นั้น มีกฎหมาย ตาม พระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ควบคุม ซึ่งผู้ประกอบการจำเป็นต้องศึกษาประเภทโรงงาน รวมถึงทำความเข้าใจเกี่ยวกับการอนุญาตจัดตั้ง และขอใบอนุญาตเพื่อประกอบกิจการโรงงาน (ใบ รง.4) โดยขั้นตอนในการยื่นขออนุญาตจัดตั้งโรงงานแต่ละประเภทคร่าวๆ มีดังนี้
โรงงานประเภทที่ 1
รูปแบบโรงงานเฉพาะ หรือโรงงานที่ใช้เครื่องจักรไม่เกิน 20 แรงม้า และไม่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษ เช่น โรงงานซ่อมรองเท้าหรือเครื่องหนังทุกประเภท, โรงงานเครื่องแก้ว หรือ โรงงานทำน้ำตาลจากมะพร้าว เป็นต้น โรงงานประเภทนี้สามารถประกอบกิจการได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องยื่นขออนุญาต แต่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ได้แก่
- สถานที่ตั้งโรงงาน
- ลักษณะอาคาร
- เครื่องจักร
- การควบคุมปล่อยของเสีย หรือมลพิษ
โรงงานประเภทที่ 2
โรงงานที่มีขนาดของเครื่องจักรมากกว่า 50 แรงม้า แต่ต้องไม่เกิน 75 แรงม้า และมีจำนวนคนงานมากกว่า 50 คน แต่ไม่เกิน 75 คน อาจก่อให้เกิดปัญหามลพิษเล็กน้อย แต่สามารถแก้ไขปรับปรุงได้ไม่ยาก โดยการจัดตั้งโรงงานประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องขออนุญาต แต่ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนเริ่มดำเนินงาน ซึ่งจะต้องจัดเตรียมเอกสารเพื่อประกอบการพิจารณา ดังนี้
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
- แผนผังแสดงสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณโรงงาน และใบอนุญาตก่อสร้าง
โรงงานประเภทที่ 3
โรงงานที่ใช้เครื่องจักรเกิน 50 แรงม้า และมีจำนวนคนงานมากกว่า 75 คน โรงงานประเภทนี้จะต้องมีใบ รง.4 ตามกฎกระทรวง เพราะเป็นโรงงานที่มีขนาดใหญ่ ที่อาจก่อให้เกิดปัญหามลพิษ หรือเหตุอันตรายที่ต้องควบคุมอย่างใกล้ชิด เช่น โรงงานผลิตกระดาษ, โรงงานผลิตน้ำตาล หรือโรงงานผลิตสุรา เป็นต้น โรงงานในลักษณะนี้จำเป็นต้องยื่นขออนุญาต ซึ่งจะต้องเตรียมเอกสารประกอบการพิจารณา ดังนี้
- สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ที่แสดงรายชื่อกรรมการผู้มีอำนาจ
- สำเนาบัตรประจำตัว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง และสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้ลงนาม
- หนังสือมอบอำนาจ
- แบบแปลนอาคารโรงงาน (วิศวกรลงนามรับเอกสาร)
- แบบแปลนแสดงตำแหน่งที่ตั้งของเครื่องจักร และรายการเครื่องจักร (วิศวกรลงนามรับเอกสาร)
- แบบแปลนระบบควบคุมมลพิษและสิ่งแวดล้อม (วิศวกรลงนามรับเอกสาร)
- ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร (กรณีที่ยังไม่ได้ก่อสร้างอาคาร)
- หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่หรือที่ดิน (กรณีที่ไม่ได้เป็นเจ้าของสถานที่หรือที่ดิน)
- แผนผังแสดงสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณโรงงาน (วิศวกรลงนามรับรองเอกสาร)
เมื่อจัดเตรียมเอกสาร และกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือ การยื่นเอกสารให้กับทางกรมการโรงงานอุตสาหกรรมตามจังหวัดที่โรงงานตั้งอยู่ สำหรับในเขตกรุงเทพมหานครสามารถยื่นออนไลน์ได้ที่ ระบบยื่นคำขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานแบบดิจิทัล โดยจะใช้เวลาพิจารณาประมาณ 30 วัน
การ ก่อสร้างโรงงาน ในพื้นที่แต่ละส่วน มีอะไรที่ต้องระวังเป็นพิเศษหรือไม่
ข้อควรระวังเกี่ยวกับการก่อสร้างโรงงานหลักๆ คือ เรื่องของพื้นที่ตามกฎหมายผังเมือง เพราะการที่จะสร้างโรงงานอุตสาหกรรมในที่ดินของตนเอง หรือที่ดินที่กำลังจะซื้อนั้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าที่ดินผืนนั้นสามารถสร้างโรงงานได้หรือไม่
ซึ่งการตรวจสอบที่ดินเพื่อทำการประกอบธุรกิจ เจ้าของที่ดินต้องตรวจสอบว่าที่ดินที่กำลังจะสร้างโรงงานนั้น อยู่ในเขตผังเมืองสีอะไร ถ้าไม่ตรวจสอบให้ดีก่อนสร้างอาจทำให้ เสียค่ารื้อถอนตามมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งกฎหมายผังเมืองสำหรับพื้นที่อุตสาหกรรม และคลังสินค้าจะใช้โซน “สีม่วง” และแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ
- เขตพื้นที่สีม่วงอ.1 – กำหนดให้เป็นเขตอุตสาหกรรม ที่ใช้ในการบริหาร และจัดการสิ่งแวดล้อม สำหรับการประกอบกิจการประเภทอุตสาหกรรมการผลิตที่มีมลพิษน้อย
- เขตพื้นที่สีม่วงอ.2 – กำหนดให้เป็นเขตนิคมอุตสาหกรรม ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย โดยที่ดินประเภทนี้ให้ใช้ประโยชน์เพื่ออุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และการสาธารณูปโภค หากต้องการใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อประกอบกิจการอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม สามารถใช้ได้ไม่เกิน 10% ของที่ดิน
หากใครที่ต้องการจะสร้างโรงงานอุตสาหกรรม โกดัง หรือคลังสินค้า ให้เป็นไปตามกฎหมายผังเมือง ก่อน ก่อสร้างโรงงาน ควรทำการตรวจสอบพื้นที่ให้ดีว่ามีข้อจำกัด และทำอะไรได้บ้างในพื้นที่นั้น เพื่อที่จะสามารถคำนวณค่าใช้จ่าย และขยายธุรกิจโรงงานได้ โดยไม่เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง
เลือก ก่อสร้างโรงงาน ที่ได้มาตรฐาน โดยทีมผู้เชี่ยวชาญจาก V.K.B
อยาก เปิดโรงงาน แต่ไม่รู้ว่าต้องเริ่มวางแผนยังไงดี? ขอแนะนำ V.K.B Contracting บริษัทรับเหมาก่อสร้างที่เปิดให้บริการอย่างยาวนานกว่า 30 ปี พร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ สามารถให้คำปรึกษาด้านการก่อสร้างทุกรูปแบบ ให้บริการคุณตั้งแต่การวางแผน ออกแบบ และก่อสร้าง
เรียกได้ว่าดูแลตั้งแต่เริ่ม จนถึงวันที่ส่งมอบงานกันเลยทีเดียว ทำให้คุณมั่นใจได้เลยว่า ทุกบริการจะตอบโจทย์ความต้องการ และ มีคุณภาพอย่างแน่นอน
- งานก่อสร้าง รับเหมาก่อสร้างด้วยทีมงาน บุคลากร และ Outsource คุณภาพที่พร้อมบริการอย่างเต็มที่
- งานออกแบบ มีผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ รวมทั้งนักออกแบบรุ่นใหม่ ที่พร้อมออกแบบเพื่อให้ตอบโจทย์ตามสไตล์ของคุณ
- ให้คำปรึกษา และ บริหารโครงการ นอกจากการก่อสร้างแล้ว เรายังให้คำแนะนำ ปรึกษา และ ช่วยเหลือปัญหาที่เกิดจากการก่อสร้างทุกรูปแบบ
สามารถสอบถาม V.K.B และ ดูข้อมูลเพิ่มเติมช่องทางอื่นๆ
Facebook : VKB Contracting
Line : @vkbth
Tel : 081-735-6625 , 097-445-4146 , 02-377-6591 , 02-735-1636 , 02-735-1637
Email : vkb.cont@gmail.com