กฎหมายโรงงาน และ การจัดตั้งโรงงาน ที่ผู้ประกอบการต้องรู้!!!

กฎหมายโรงงาน และ การจัดตั้งโรงงาน ที่ผู้ประกอบการต้องรู้!!!

หากพูดถึงการประกอบธุรกิจอย่าง SME คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเมื่อธุรกิจของคุณเติบโตขึ้น มีเครื่องจักรในการทำงาน และ มีพนักงานมากขึ้นจนถึงเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประกอบกิจการจะต้องทำการขออนุญาตเพื่อจัดตั้งโรงงานขึ้นสำหรับการประกอบธุรกิจ แต่การจะจัดตั้งโรงงานไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเพียงแค่ทำการก่อสร้างก็จบ!!! แต่จำเป็นจะต้องปฏิบัติตาม กฎหมายโรงงาน และ การจัดตั้งโรงงาน ที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการ จะต้องทำการศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนที่จะทำการจัดตั้งโรงงาน วันนี้ทาง V.K.B เลยได้เอาข้อควรรู้ในการจัดตั้งโรงงาน และ ขั้นตอนการขอใบอนุญาตจัดตั้งโรงงานมาฝาก ใครที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจไม่ควรพลาด!!!

ทำไมต้องขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน ?

อย่างที่เราได้เกริ่นเอาไว้ข้างต้นว่าเมื่อโรงงานมีเครื่องจักร หรือ พนักงานถึงเกณฑ์ที่กำหนดเอาไว้ ผู้ประกอบการจะต้องทำการจัดตั้งโรงงานตามที่กฎหมายกำหนด โดยโรงงานที่มีเครื่องจักรขนาด 50 แรงม้า และ มีพนักงานจำนวน 50 คนขึ้นไป จะต้องทำการขออนุญาตเพื่อจัดตั้งโรงงานตาม พ.ร.บ โรงงาน ซึ่งมีขึ้นเพื่อทำการควบคุมดูแลกิจกรรมภายในโรงงานไม่ให้เกิดผลเสียต่อสังคม และ สิ่งแวดล้อม

ประเภทของโรงงานตามกฎหมาย

กฎหมายโรงงาน และ การจัดตั้งโรงงาน

ถึงแม้ผู้ประกอบการจะต้องทำการขอใบอนุญาตในการจัดตั้งโรงงาน แต่ก็ยังมีโรงงานบางประเภทที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องทำการขอใบอนุญาตก็สามารถจัดตั้งโรงงานได้ โดยปกติโรงงานจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท

  • โรงงานประเภทที่1 – หากโรงงานมีเครื่องจักรไม่เกิน 20 แรงม้า และ มีคนงานไม่เกิน 20 คน โรงงานประเภทนี้ไม่จำเป็นจะต้องขอใบอนุญาต สามารถดำเนินกิจการได้ทันทีไม่ต้องขอใบอนุญาต (*โรงงานบางประเภทถูกจัดรวมเป็นโรงงานประเภทที่ 3 ถึงแม้จะมีจำนวนไม่เป็นไปตามโรงงานจำพวกที่ 3 ก็ตาม เพราะกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษ)
  • โรงงานประเภทที่2 – ถ้าโรงงานมีเครื่องจักรมากกว่า 50 แรงม้าแต่ไม่เกิน 75 แรงม้า (50-75 แรงม้า) และ มีพนักงานมากกว่า 50 คนแต่ไม่เกิน 75 คน (50-75 คน) ไม่ต้องขอใบอนุญาตในการจัดตั้ง แต่จะต้องทำการแจ้งการความจำนนในการประกอบกิจการ และ ชำระค่าธรรมเนียมรายปี (*โรงงานบางประเภทถูกจัดรวมเป็นโรงงานประเภทที่ 3 ถึงแม้จะมีจำนวนไม่เป็นไปตามโรงงานจำพวกที่ 3 ก็ตาม เพราะกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษ)
  • โรงงานประเภทที่3 – โรงงานมีเครื่องจักรมากกว่า 75 แรงม้า และ มีพนักงานในโรงงานมากกว่า 75 คน โรงงานประเภทนี้จะต้องทำการขอใบอนุญาตในการจัดตั้งโรงงาน (ใบร.ง.4) เนื่องจากถือว่าเป็นโรงงานที่อาจก่อให้เกิดมลภาวะ

**ข้อมูลดังกล่าวยึดตามรายละเอียดจากกฎกระทรวง : กำหนดประเภท ชนิด และ ขนาดของโรงงาน พ.ศ. 2563**

กฎหมายโรงงาน และ การจัดตั้งโรงงาน

เงื่อนไขในการจัดตั้งโรงงาน หากเป็นโรงงานจำพวกที่ 3 (โรงงานที่มีเครื่องจักรขนาด 75 แรงม้าขึ้นไป และ มีพนักงานมากกว่า 75 คน) รวมทั้งโรงงานประเภทที่ 1 และ 2 ที่ถูกจัดรวมเป็นจำพวกที่ 3 เพราะกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษ จะต้องทำการขออนุญาตจัดตั้งโรงงาน และ ขอใบอนุญาตประกอบกิจการ นั่นก็คือใบ ร.ง.4 นั่นเอง ซึ่งเป็นใบที่ออกให้กับโรงงานจำพวกที่ 3 สำหรับการจัดตั้งโรงงาน และ ทำการเสียค่าธรรมเนียมโรงงานรายปีตามขนาดแรงม้าที่โรงงานผลิต หากไม่มีใบนี้แล้วยังจัดตั้งโรงงานจะถือว่าทำผิด พ.ร.บ โรงงาน สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการขอใบอนุญาตจำเป็นจะต้องเตรียมเอกสารให้พร้อมดัง ต่อไปนี้

เอกสารสำหรับการขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน

โรงงาน เอกสารสำหรับการเปิดโรงงาน

  • คำขออนุญาตประกอบกิจการโรงงาน
  • หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (สำหรับกรณีโรงงานที่จดเป็นนิติบุคคล และ คัดลอกสำเนาไม่เกิน 3 เดือน)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และ สำเนาทะเบียนบ้าน / หนังสือเดินทางของผู้ที่จะลงนาม
  • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ไม่ได้มาดำเนินการด้วยตัวเอง)
  • เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่จัดตั้งโรงงาน (โฉนดที่ดิน)
  • แบบแปลนแผนผังอาคารภายในโรงงาน (จะต้องผ่านการลงนามรับรองความปลอดภัยจากวิศวกร)
  • แผนผังแสดงการติดตั้งเครื่องจักร (จะต้องผ่านการลงนามรับรองความปลอดภัยจากวิศวกร)
  • สำเนาหนังสืออนุญาตก่อสร้าง
  • ขั้นตอนการผลิตโดยละเอียด
  • เอกสารเพิ่มเติมอื่นๆ ที่เจ้าหน้าที่กำหนด

เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารเบื้องต้นในการยื่นเพื่อขอใบอนุญาตจัดตั้งโรงงาน นอกจากเอกสารเบื้องต้นแล้วอาจจะมีเอกสารเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับประเภทของโรงงานนั้นๆ

ขั้นตอนการขอใบอนุญาตสำหรับ กฎหมายโรงงาน และ การจัดตั้งโรงงาน

ขั้นตอนการขอใบอนุญาตสำหรับ กฎหมายโรงงาน และ การจัดตั้งโรงงาน

สำหรับผู้ประกอบกิจการที่ทำการจัดเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการไปยื่นเอกสารกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามจังหวัดที่โรงงานทำการจัดตั้ง ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ผู้ประกอบการทำการยื่นคำขอจัดตั้งโรงงาน (ร.ง.3) และ เอกสารสำหรับการขอใบอนุญาตให้เรียบร้อย
  2. เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร และ สถานที่จัดตั้งโรงงาน ตั้งแต่กระบวนการผลิต การป้องกัน และ การบำบัด
  3. เจ้าหน้าที่จะทำการแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ประกอบการทราบ

หากได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงงานได้จะต้องทำการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต และ จัดตั้งโรงงานภายในระยะเวลาที่ระบุเอาไว้ และ ในกรณีที่ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงงานสามารถทำการยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมได้ภายใน 30 วัน

ถ้าไม่มีใบอนุญาตมีความผิดอะไรไหม ???

มีความผิดอย่างแน่นอน!!! เพราะว่าหากโรงงานของคุณอยู่ในโรงงานจำพวกที่ 3 แล้วทำการจัดตั้งโดยไม่ได้มีใบอนุญาตจะถือว่าโรงงานได้ฝ่าฝืนกฎหมาย พ.ร.บ โรงงาน มีโทษจำคุก 2 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ ส่วนหากโรงงานของคุณเป็นจำพวกที่ 2 ที่ต้องแจ้งความจำนนในการประกอบกิจการก่อนจัดตั้งโรงงาน หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

เพราะฉะนั้นแล้วการขอใบอนุญาตจัดตั้งโรงงาน และ ประกอบกิจการจึงสำคัญมาก!!! หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่กำลังวางแผน หรือ คิดจะสร้างโรงงาน อย่าได้ละเลยกฎหมาย และ อย่าลืมที่จะขอใบอนุญาตก่อนจัดตั้งโรงงาน ไม่เช่นนั้นโรงงานคุณอาจจะเป็นโรงงานผิดกฎหมายได้ (ผิดกฎหมาย พ.ร.บ โรงงาน)

 

 

อยากได้โรงงานที่ดีเลือก V.K.B ก่อสร้างให้คุณ!!!

ผู้ประกอบการที่ต้องการจัดสร้างโรงงาน บริษัท V.K.B contracting ของเราเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ให้บริการออกแบบ และ ก่อสร้าง รวมถึงให้คำแนะนำ บริหารโครงการ ที่ให้บริการมายาวนานกว่า 30 ปี ด้วยทีมที่เชี่ยวชาญ และ มีประสบการณ์ ทำให้คุณมั่นใจได้เลยว่างานที่ออกมาจะเป็นไปอย่างที่คุณต้องการ และ มีคุณภาพ

  • งานก่อสร้าง รับเหมาก่อสร้างด้วยทีมงาน บุคลากร และ Outsourch คุณภาพที่พร้อมบริการอย่างเต็มที่
  • งานออกแบบ มีผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ รวมทั้งนักออกแบบรุ่นใหม่ ที่พร้อมออกแบบเพื่อให้ตอบโจทย์ตามสไตล์ของคุณ
  • ให้คำปรึกษา และ บริหารโครงการ นอกจากการก่อสร้างแล้ว เรายังให้คำแนะนำ ปรึกษา และ ช่วยเหลือปัญหาที่เกิดจากการก่อสร้างทุกรูปแบบ

บริการอย่างเต็มที่ และ เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ

 

 

สามารถสอบถาม V.K.B และ ดูข้อมูลเพิ่มเติมช่องทางอื่นๆ

Facebook : VKB Contracting

Line : @vkbth

Tel081-735-6625 , 097-445-4146 , 02-377-6591 , 02-735-1636 , 02-735-1637

Email : vkb.cont@gmail.com

ติดต่อเรา