ความปลอดภัยของอาคาร เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะการก่อสร้างอาคารให้เป็นที่อยู่อาศัยอย่าง อะพาร์ตเมนต์, คอนโดมิเนียม และโรงแรม หรืออาคารพาณิชย์ที่สร้างเป็นห้างสรรพสินค้า และสำนักงาน ย่อมมีผู้คนที่อยู่ภายในอาคารนั้นเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ “ทางหนีไฟ” เป็นความปลอดภัยขั้นพื้นฐานที่ควรมี โดยผู้ออกแบบหรือผู้ก่อสร้างอาคาร จะต้องสร้างทางหนีไฟให้ถูกต้องตามกฎหมายควบคุมอาคาร ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงจากอัคคีภัยขึ้น ก็จะเป็นการช่วยให้คนที่อยู่ในอาคารรอดพ้นจากความร้อน และควันไฟ ที่ส่งผลอันตรายต่อชีวิตได้ทัน ดังนั้นคุณเองก็ควรจะสังเกตหรือศึกษาเส้นทางหนีไฟของอาคารประเภทนั้นๆ ให้ดี เผื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นมา จะได้รีบออกจากอาคารได้ทันเวลา วันนี้ V.K.B จะพาคุณมารู้จักกับ “กฎหมายทางหนีไฟ” ที่จะช่วยให้คุณมีความรู้และรู้สึกปลอดภัยมากยิ่งขึ้น!
ทางหนีไฟสำคัญอย่างไร?
ภายใต้ความสวยงามของอาคาร ก็ยังมีโครงสร้างที่แข็งแรง เพื่อให้ปลอดภัยกับคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ เพราะหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดอย่างเช่น ไฟฟ้าลัดวงจร หรือความประมาทเล็กๆ น้อยๆ ของการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า ก็อาจนำไปสู่อัคคีภัยที่เป็นอันตรายร้ายแรงได้ และยังสร้างความสูญเสียอย่างมหาศาลต่อชีวิต และทรัพย์สินได้อีกด้วย
และเพราะเหตุนี้จึงทำให้อาคารต่างๆ ในปัจจุบัน หันมาก่อสร้างด้วยวัสดุที่ทนไฟ เพื่อเป็นการป้องกันเบื้องต้น หากเกิดเหตุเพลิงไหม้ ก็จะช่วยชะลอไม่ทำให้ไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว
รวมไปถึง “ทางหนีไฟ” ที่ทุกอาคารต้องสร้างขึ้นมา เพื่อความปลอดภัย เพราะจะได้ช่วยนำผู้คนที่อยู่ภายในอาคาร ออกจากเหตุการณ์เพลิงไหม้ได้เร็วที่สุด ซึ่งเส้นทางนี้จะเป็นออกเป็น 3 ส่วน คือ
- เส้นทางหนีไฟ เป็นทางที่ไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ ในทางเดิน ที่ทำให้คุณเดินไปได้อย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะออกจากตัวอาคาร หรือว่าอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยจากเพลิงไหม้ สามารถสังเกตได้จากทางเข้า ที่มีป้ายไฟบอกเอาไว้ว่า เป็นทางออกฉุกเฉิน
- ทางหนีไฟ เป็นทางระหว่างที่เดินออกไป โดยโครงสร้างของทางหนีไฟนั้น จะต้องเป็นพื้นที่ปิด ไม่ให้มีเปลวไฟ หรือควันไฟเล็ดลอดเข้ามา และมีการใช้วัสดุก่อสร้างที่ทนความร้อนได้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้บันได หรือชานพักถล่มลงมา
- ทางออก ก่อนที่คุณจะไปถึงทางออก จะต้องคอยสังเกต “ป้ายทางออก” ให้ดี ว่าจะต้องไปตรงจุดไหน เพื่อไปทางที่ถูกต้อง ออกมาจากอาคารได้ และอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย รอดพ้นจากเพลิงไหม้
ลักษณะการก่อสร้างที่ถูกต้องตาม กฎหมายทางหนีไฟ
หากพูดถึง “กฎหมายทางหนีไฟ” ก็จะมีหลากหลายฉบับ ที่ถูกขีดเขียนขึ้นมาเป็นข้อบังคับ แต่กฎหมายทุกฉบับเหล่านั้น มีความคล้ายคลึงกัน เราจึงนำ กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) โดยออกตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาอธิบายให้เข้าใจกันแบบเบื้องต้น
วัสดุก่อสร้าง หรือโครงสร้างของอาคาร
- อาคารที่มีความสูง 3 ชั้นขึ้นไป เช่น โรงพยาบาล, ห้างสรรพสินค้า และสำนักงาน จะต้องก่อสร้างด้วยวัสดุที่ทนไฟ ทำให้โครงสร้าง และอาคารมีความแข็งแรง
- อาคารที่เป็นตึกแถว ถ้าเป็นอิฐธรรมดากับคอนกรีตไม่เสริมเหล็ก ตัวผนังจะต้องมีความหนาไม่ต่ำกว่า 8 เซนติเมตร แต่แนะนำให้ใช้วัสดุที่ทนไฟจะดีที่สุด
- ผนังของตึกแถว อาคารที่มีการก่อสร้างให้อยู่ติดกัน อย่างตึกแถว จะต้องใช้ผนังกันไฟในระยะไม่เกิน 5 คูหา และถ้าหากว่าตึกของคุณหลังคาไม่ทนไฟ ผนังของฐานถึงชั้นบนสุดจะต้องเป็นแบบทนไฟ
- ห้องครัว เป็นพื้นที่เสี่ยงต่ออัคคีภัยมากที่สุด ภายในห้องครัวจึงต้องใช้วัสดุก่อสร้างที่ทนไฟทั้งหมด รวมไปถึงฝ้า และเพดาน เพื่อเป็นการป้องกันการลุกลามของไฟ
บันไดหนีไฟที่ถูกต้องตามกฎหมาย
- สำหรับอาคาร 4 ชั้น ที่มีความสูงไม่เกิน 23 เมตร หรืออาคาร 3 ชั้นรวมดาดฟ้า มีพื้นที่ไม่เกิน 16 ตารางเมตร จะต้องสร้างบันไดหนีไฟ 1 แห่ง โดยวัสดุจะต้องทนไฟ และไม่มีสิ่งกีดขวางที่ทางเดิน
- อาคารที่มีความสูงมากกว่า 4 ชั้น ความชันของบันไดต้องไม่เกิน 60 องศา และต้องมีชานพักทุกชั้น แต่ถ้าหากว่าเป็นอาคารที่มีความสูงน้อยกว่า 4 ชั้น ความชันจะสามารถเกิน 60 องศาได้
- บันไดหนีไฟที่อยู่ภายในอาคาร จะต้องมีความกว้างของทางเดินไม่ต่ำกว่า 80 เซนติเมตร และจะต้องใช้วัสดุกันไฟทั้งทางเดิน โดยแต่ละชั้นจะต้องทำช่องระบายอากาศมีพื้นที่ไม่เกิน 1.4 ตารางเมตร ระหว่างนอกอาคารกับทางหนีไฟ เพื่อให้มีอากาศที่ถ่ายเท และต้องมีไฟที่ทางเดินทั้งกลางวันกับกลางคืน
- บันไดหนีไฟที่อยู่ภายนอกอาคาร จะต้องมีความกว้างของทางเดินไม่ต่ำกว่า 60 เซนติเมตร และผนังที่อยู่ด้านนอกติดกับบันได ก็จะต้องสร้างจากวัสดุที่ทนไฟ แต่ถ้าเกิดว่าทางเดินของบันไดลงไปไม่ถึงชั้นข้างล่างสุด ก็จะต้องมีบันไดโลหะแบบเลื่อน เพื่อให้หย่อนคนลงมาถึงชั้นล่างสุด
- การติดตั้งประตูหนีไฟ จะต้องทนไฟ มีความกว้างมากกว่า 80 เซนติเมตร และมีความสูงไม่ต่ำกว่า 1.90 เมตร โดยบานเปิดประตูจะต้องผลักออกนอกอาคารได้อย่างสะดวก ไม่มีธรณีประตูกั้น และมีสลิงที่ช่วยประตูปิดอัตโนมัติ
คำแนะนำในการติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย
- อาคารที่มีความสูงต่ำกว่า 2 ชั้น เช่น บ้าน และตึกแถว การติดตั้งถังดับเพลิง จะเป็นตัวช่วยในยามฉุกเฉิน ทำให้ลดความรุนแรงของเพลิงไหม้ได้ จะต้องมีถังดับเพลิงขนาด 3 กิโลกรัม ต่อ 1 คูหา แต่ถ้าเป็นอาคารที่มีความสูงมากกว่า 2 ชั้น ขนาดของถังดับเพลิงต้องไม่ต่ำกว่า 4 กิโลกรัม
- อาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่ เช่น อะพาร์ตเมนต์ และคอนโด เป็นต้น หากมีพื้นที่น้อยกว่า 1,000 ตารางเมตร จะต้องติดตั้งถังดับเพลิงมากกว่า 1 เครื่อง ในทุกระยะ 45 เมตร และตัวถังต้องอยู่สูงจากพื้นไม่ต่ำกว่า 150 เมตร เพื่อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม สามารถหยิบไปใช้งานได้สะดวก
- อาคารที่อยู่อาศัย เช่น บ้าน และตึกแถว จะต้องมีการติดตั้งระบบสัญญาณเตือนไฟไหม้ ช่วยส่งเสียงเตือนให้คุณรีบออกจากอาคารโดยเร็วที่สุด ถ้าเป็นอาคารที่มีความสูงต่ำกว่า 2 ชั้น ต้องติดตั้ง 1 เครื่อง แต่ถ้าเป็นอาคารที่มีความสูงมากกว่า 2 ชั้น ในทุกๆ ชั้นจะต้องมี 1 เครื่อง
กฎหมายทางหนีไฟสำคัญยังไง?
กฎหมายทางหนีไฟ นอกจากจะเป็นกฎหมายพื้นฐานของอาคารก่อสร้างแล้ว ยังเป็นการสร้างความมั่นใจ และความปลอดภัยต่อผู้ที่อยู่อาศัยภายในอาคาร ให้รอดพ้นจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดอย่าง “อัคคีภัย”
เพราะทางหนีไฟที่สร้างขึ้นมา จะต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับอาคาร และทนความร้อนได้ดี ซึ่งจะช่วยให้คุณเดินไปยังทางหนีไฟ และออกมาจากตึกได้อย่างปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต
หากใครที่กำลังมีโครงการในการก่อสร้างอยู่ แต่ว่าไม่รู้ว่าต้องเริ่มยังไง แล้วการสร้างทางหนีไฟควรจะเป็นไปในทิศทางไหน ถึงตอบโจทย์กับคุณมากที่สุด แนะนำให้คุณปรึกษาผู้รับเหมาที่มีความชำนาญ และเชี่ยวชาญ จะเป็นการช่วยให้ได้อาคารที่มีความสวยงาม และปลอดภัยสำหรับคุณ
สร้างทางหนีไฟให้ถูกกฎหมาย ต้องสร้างกับ V.K.B
V.K.B เป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ให้บริการมายาวนานกว่า 30 ปี มีการออกแบบ ก่อสร้าง และให้คำแนะนำ หรือบริหารโครงการ จากทีมที่เชี่ยวชาญ และ มีประสบการณ์ ทำให้คุณมั่นใจได้เลยว่างานที่ออกมาจะเป็นไปอย่างที่คุณต้องการ และ มีคุณภาพ
- งานก่อสร้าง สามารถไว้ใจได้ด้วยทีมงาน บุคลากร และ Outsource ที่มีคุณภาพ พร้อมให้บริการคุณได้อย่างเต็มที่
- งานออกแบบ มีผู้เชี่ยวชาญที่มากประสบการณ์ รวมทั้งนักออกแบบรุ่นใหม่ ที่จะช่วยให้การออกแบบได้ตอบโจทย์ตามสไตล์ที่ทันสมัยของคุณ
- ให้คำปรึกษา และบริหารโครงการ นอกจากการก่อสร้างแล้ว เรายังให้คำแนะนำ ปรึกษา และช่วยเหลือปัญหาที่เกิดจากการก่อสร้างทุกรูปแบบได้อีกด้วย
ให้บริการอย่างเต็มที่ และเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ
สามารถสอบถาม V.K.B และ ดูข้อมูลเพิ่มเติมช่องทางอื่นๆ
Facebook : VKB Contracting
Line : @vkbth
Tel : 081-735-6625 , 097-445-4146 , 02-377-6591 , 02-735-1636 , 02-735-1637
Email : vkb.cont@gmail.com